1 ใน 3 ของบริษัทขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกาต้องปิดตัวลงในปีที่ผ่านมา จากผลกระทบของสถานการณ์ COVID-19 ... ตัวเลขนี้ฟังดูแล้วอาจจะน่าตกใจอยู่ไม่น้อย สำหรับทั้งเจ้าของกิจการ และนักลงทุนที่กำลังลงทุนในธุรกิจของคนอื่นอยู่ อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่ากว่าบริษัทที่มีอิทธิพลระดับโลกอย่าง Apple หรือ Tesla จะเติบโตขึ้นมาได้อย่างในปัจจุบันนั้น เขาก็ต้องเคยเริ่มต้นจาก 0 ผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาก่อนเช่นกันวันนี้ เพียร์ พาวเวอร์จึงได้รวบรวม 5 แนวคิด ที่จะช่วยทุกท่านเฟ้นหา”ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จ” เพื่อนักลงทุนจะได้ใช้เป็นกลวิธี ในการตัดสินใจลงทุนในช่วงเริ่มต้นของบริษัทต่างๆ หรือจะเพื่อผู้ประกอบการ ที่จะนำไปปรับใช้เป็นยุทธวิธีของบริษัทของคุณก็ได้เช่นเดียวกัน ไม่รอช้า ไปอ่านกันได้เลยครับ
1. ทฤษฎีการสะท้อนกลับ ของ George Soros (Reflexivity Theory)
ทฤษฎีการสะท้อนกลับ ถูกคิดค้นขึ้นโดย George Soros หรือที่คนไทยรู้จักเขาในนามว่า "พ่อมดการเงิน" (ชื่อที่ได้รับจากเหตุการณ์โจมตีค่าเงินบาทตอนวิกฤษต้มยำกุ้งเมื่อปี 40) แนวคิดของทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับอคติของมนุษย์ กับความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลกระทบที่ส่งผลซึ่งกันและกัน ทำให้สุดท้ายแล้วไม่มีผู้ใดสามารถแยกได้ว่าสิ่งใดคือเหตุ สิ่งใดคือผลได้อีกต่อไป เกิดเป็นกระบวนการสะท้อนไปกลับแบบไม่มีที่สิ้นสุด
ตัวอย่างเคสของบริษัท Tesla:
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของแนวคิดนี้คือความสัมพันธ์ของราคาหุ้นกับความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนในบริษัท เช่นในเคสของบริษัท Tesla ที่มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่รู้จบ เรามักจะคิดว่า รายได้ของบริษัทจะเป็นตัวขับเคลื่อนราคาหุ้น หากผลประกอบการของบริษัทดีราคาหุ้นก็จะสูงตามขึ้นไป แท้จริงแล้ว การที่ราคาหุ้นของบริษัทเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ Tesla ยิ่งมีเงินทุนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นำมาซึ่งความมั่นใจของลูกค้าในตัวบริษัท แล้ววกกลับมาที่รายได้ของบริษัทที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าที่เชื่อใจ วนไปเช่นนี้เป็นวงเวียนที่ไม่รู้จบนั่นเอง
2. การควบคุมระบบนิเวศ โดย Dennis Hong (Ecosystem Control)
Dennis Hong ผู้ก่อตั้งบริษัทเครื่องกลและหุ่นยนต์อัจฉริยะชื่อดัง RoMeLa ได้นำเสนอแนวคิด Ecosystem Control หรือ การควบคุมระบบนิเวศว่า เป็นเทคนิคการเอาชนะคู่แข่งแบบที่ไม่มีใครสามารถเทียบได้ แนวคิดนี้กล่าวไว้ว่า บริษัทที่จะประสบความสำเร็จนั้น ทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า พนักงาน หรือใครก็ตามแต่นั้น ถูกขังอยู่ในระบบแวดล้อมของบริษัทอย่างเต็มใจ โดยการกักขังนี้มันทรงพลังและยากที่จะขัดขืนได้ จนไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะทำให้ใครก็ตามพยายามหนีออกจากระบบนิเวศนั้นๆไป
ตัวอย่างเคสของบริษัท Apple:
ไม่ว่าคุณจะเป็นแฟนคลับของ Apple หรือไม่นั้น ก็คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า Apple Ecosystem เป็นระบบที่เรียกได้ว่าครบวงจรและยังไม่สามารถหาแบรนด์ใดเทียบได้ บริษัทมีผลิตภัณฑ์และบริการหลากหลาย ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันทั้งในระดับผู้ใช้งานและคอมมูนิตี้ มอบความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งในทางเดียวกัน ก็ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปยังแบรนด์อื่นยากขึ้นไปด้วยนั่นเอง (High switching cost)
3. บริษัทที่ถูกใช้เป็นคำ “กริยา”
“ลอง Google ดูสิ” “Zoom กันบ่ายวันนี้นะ” “เดี๋ยว Line ไป”บริษัทที่กลายมาเป็นคำกริยาที่คนใช้เรียกกันทั่วไป แทนที่คนจะใช้กริยาดั้งเดิมของมัน (Google แทน ค้นหา , Zoom แทน ประชุม , Line แทน ส่งข้อความ) นับว่าบริษัทเหล่านี้ ได้ ROI (Return on Investment) สูง จากการตลาดแบบปากต่อปากโดยธรรมชาติ แบบที่แบรนด์ไม่ต้องลงแรง ทั้งยังช่วยขยายฐานลูกค้าและความถี่ในการใช้งานอีกด้วย อย่างการที่คนไทยเรียก มาม่า แทน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือ ซันไลต์ แทน น้ำยาล้างจาน เหล่านี้ก็เป็นตัวอย่างแนวคิดที่ใกล้เคียงกันเช่นกันนะครับ
4. โมเดลธุรกิจแบบที่โกนหนวดและใบมีด (Razor and Blades)
แนวคิดของโมเดลธุรกิจนี้คือ การขายสินค้าหลักในราคาถูก (ที่โกนหนวด) เพื่อทำกำไรจากสินค้าสินเปลืองที่ต้องใช้คู่กัน (ใบมีด) หลังจากเกิดการขายที่โกนหนวดไปแล้ว ลูกค้าจำเป็นจะต้องกลับมาซื้อใบมีดซ้ำเรื่อยๆ ก่อให้เกิดเป็นรายรับอย่างสม่ำเสมอจากสินค้าที่ให้กำไรสูงกว่า (high margin product) เมื่อเวลาผ่านไปนั่นเอง
ตัวอย่างเคสของบริษัท Fujifilm:
Instant Camera เช่นแบรนด์ Instax จาก Fujifilm ขายตัวกล้องราคาไม่สูงมาก แต่รูปฟิล์มที่จำเป็นจะต้องซื้อเติมเรื่อยๆนั้น กลับราคาสูงได้ถึง 60 บาทต่อรูปเลยทีเดียว
5. การมองที่ต้นทุนคงที่ (Operating Leverage)
กิจการที่ขยับขยายรายได้เพิ่มขึ้น โดยที่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่คงที่นั้น มีโอกาสในการประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะเมื่อกิจการได้ผ่านจุดคุ้มทุนที่รวมต้นทุนคงที่ไปแล้ว บริษัทจะได้รับกำไรอย่างมหาศาลโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำคัญใดๆเพิ่มเติมนั่นเอง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถค้นหาได้จากหนังสือชี้ชวนของบริษัทนั้นๆนั่นเองครับ
ตัวอย่างเคสของ Facebook:
คุณคิดว่าในการได้รับรายได้ 1 ดอลล่าสหรัฐ จากการยิงโฆษณาให้แบรนด์ต่างๆบน Facebook นั้น Meta ต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ .คำตอบคือ ไม่เสียอะไรเลยนั่นเองครับ เพราะค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียนั้นเป็น Fixed cost ที่ Facebook ครอบคลุมและจ่ายไปแล้วนั่นเอง ทำให้รายรับใหม่ที่ได้นั้นแทบจะเป็นกำไรเข้าบริษัทล้วนๆเลยล่ะครับ การที่กิจการจะประสบความสำเร็จนั้นไม่มีสูตรที่แน่นอนตายตัว อย่างไรก็ตาม การได้ศึกษาแนวคิด นำไปปรับใช้และทดลองทำอะไรใหม่ๆที่ไม่เคยทำ นับเป็นสเน่ห์ของการทำธุรกิจที่หาจากที่ไหนไม่ได้ รวมทั้งยังเป็นอีกหนทาง ที่จะช่วยให้นักลงทุนที่กำลังลงทุนในกิจการต่างๆ ได้พอเห็นภาพคุณลักษณะของบริษัทที่มีแววจะประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้น ที่เพียร์ พาวเวอร์ เราเข้าใจทั้งนักลงทุน และผู้ประกอบการเป็นอย่างดี เราจึงเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิงที่โปร่งใสและยุติธรรม นอกจากนี้ ทุกธุรกิจที่จะขึ้นระดมทุนบนแพลตฟอร์มของเรา ต้องผ่านการคัดสรรมาแล้วอย่างถี่ถ้วน หากท่านสนใจลงทุนกับเรา ท่านสามารถสมัครเปิดบัญชีนักลงทุนได้ทันทีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ปุ่มด้านล่าง สุดท้ายนี้ ถ้าหากท่านชอบบทความนี้ อย่าลืมแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคนที่ท่านรู้จักต่อไปด้วยนะครับ
ข้อมูลอ้างอิง:
- Steady Compounding: 5 Mental Models that helped me recognize the patterns of great investments