7 สัญญาณ SME ขาดเงิน ทุนหมุนเวียน
การแข่งขันบนโลกธุรกิจไม่เคยหยุดนิ่ง การที่ธุรกิจใดๆ หยุดชะงักแค่ช่วงสั้นๆ อาจเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลกระทบให้ธุรกิจนั้นๆ ก้าวไม่ทันตลาดที่เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว
แน่นอนว่าหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดในการอยู่รอดของธุรกิจคงหนีไม่พ้นเรื่องเงินทุน หากการเงินไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ ไม่เพียงแต่คุณจะต้องคาดเข็มขัดให้ธุรกิจของคุณแน่นขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้โอกาสทางการตลาดต่างๆ หายวับไปกับตาเพียงเพราะขาดเงินในการลงทุน ไม่มีธุรกิจไหนอยากตกอยู่ในสภาพนี้หรอกค่ะ
วันนี้เราเลยจะมาขอพูดถึง "7 สัญญาณที่บ่งบอกว่าธุรกิจของคุณกำลังต้องการแหล่งเงินทุน" เพื่อให้คุณเตรียมรับมือได้อย่างมั่นใจค่ะ
1. ธุรกิจของคุณตอบสนองไม่ทันความต้องการของตลาด
การที่ธุรกิจของคุณจะมีลูกค้าหลั่งไหลเข้ามามากมายย่อมเป็นเรื่องดีใช่หรือไม่คะ แต่สังเกตให้ดีค่ะว่าคุณได้ให้บริการทันใจลูกค้าทุกคนหรือเปล่า สังเกตง่ายๆ ว่าทีมเซลส์ของคุณได้ตอบคำถามลูกค้าที่เข้ามาอย่างทันท่วงทีหรือไม่? มีจำนวนคำถามคงค้างใน inbox อยู่มากหรือเปล่า? ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องของลูกค้าที่เข้ามาใหม่เท่านั้น คุณเองยังต้องดูแลฐานลูกค้าเดิมให้ได้รับประสบการณ์ที่ดีและเป็นไปตามมาตรฐานที่วางไว้ เพื่อที่ลูกค้ากลุ่มนี้จะอยู่กับคุณ และถ้าโชคดี ลูกค้ากลุ่มนี้จะคอยบอกต่อเกี่ยวกับธุรกิจของคุณให้กับเครือข่ายของเขาด้วย
รู้ไหมคะว่า "ค่าใช้จ่ายสำหรับหาลูกค้าใหม่ ๆ นั้นมากกว่าค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาลูกค้าไว้เสียอีก" ไหนจะต้อง บริหารสต็อกให้มีสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการอีก เราจะสังเกตว่าลูกค้าจะไม่กลับมาหาคุณอีก หากคุณให้บริการไม่ดี และเขาไม่ได้รับสิ่งที่เขาคาดหวังจากคุณ คำตอบคือ ใช่
การเป็นเจ้าของธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย และยากที่จะทำเองคนเดียว ฉะนั้นคุณอาจต้องมองหาพนักงานที่มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่ออุดรูรั่วนี้ให้เร็วที่สุด แต่จะให้จ้างพนักงานใหม่ในทันทีย่อมไม่ง่าย ลองตรวจสอบเงินทุนคุณให้ดีค่ะว่าเพียงพอแค่ไหน ถ้าไม่คุณก็ควรดำเนินการกู้ยืมเงินให้ไวที่สุดเพื่อไม่ปล่อยโอกาสที่จะเป็นเจ้าตลาดต้องหลุดลอยไป
2. ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหมดไปกับค่าดอกเบี้ยที่สูงเกินไป
ช่วงแรกที่ตั้งบริษัท อัตราดอกเบี้ยสูงอาจเป็นตัวเลือกเดียวของคุณเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินลงทุนที่มากพอ แต่หากจะให้หอบหิ้วหนี้อยู่เรื่อย ๆ เช่นนี้ แม้ว่าบริษัทจะขยายตัวขึ้นกว่าแต่ก่อน ภาระหนี้ดอกเบี้ยสูงย่อมจะสร้างความตึงเครียดให้กับการเงินของบริษัทคุณ ดังนั้นคุณควรจะเร่งเคลียร์หนี้สินในส่วนนี้ออกไปให้เร็วที่สุด การรีไฟแนนซ์หนี้สินเพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำลง และจัดการผ่อนชำระหนี้ดอกเบี้ยสูงที่เหลืออยู่เป็นวิธีหนึ่งที่หลายๆ ธุรกิจเลือกใช้ และช่วยให้พวกเขาหลุดพ้นได้ในระยะเวลาอันสั้นค่ะ
3. ธุรกิจคุณกำลังขาดแคลนกระแสเงินสด
โดยเฉลี่ย เงินสำรองเก็บของเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่จะเพียงพอแค่ 27 วันเท่านั้น จากรายงานของ JPMorgan Chase ในปีล่าสุดระบุ "หากธุรกิจขนาดเล็กมีเงินเพียงพอแค่เท่านี้ นั่นถือเป็นสัญญาณว่าควรจะมองหาเงินทุนเพิ่มได้แล้ว" เจ้าของกิจการควรคำนวณเงินของธุรกิจคุณอย่างถี่ถ้วนและแน่ใจว่าเงินทุนสำรองที่มีจะใช้ได้ถึง 90 วันเป็นอย่างน้อย เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นยกตัวอย่างเช่น ลูกหนี้ของคุณเกิดชำระหนี้ช้า ส่งผลให้คุณขาดกระแสเงินสดเพื่อจ่ายเงินเดือนพนักงานของคุณ ฉะนั้น คุณควรมีเงินสำรองเพียงพอเพื่อรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้
4. การเติบโตของธุรกิจชะลอตัว
ในช่วงแรกเริ่มการเติบโตของธุรกิจอาจเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากฐานของตอนแรกไม่ได้สูงนัก แต่เมื่อดำเนินธุรกิจมาระดับหนึ่ง หลายธุรกิจมักเผชิญกับอัตราการเติบโตที่คงที่ หรือบางที่อาจติดลบเสียด้วยซ้ำ ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากคู่แข่งในตลาดที่มากขึ้น กำลังซื้อของลูกค้าที่ลดลง คุณก็ควรต้องมีเงินทุนสำรองมากพอสำหรับหล่อเลี้ยงธุรกิจในช่วงที่สถานการณ์ไม่เป็นใจค่ะ แต่ในกรณีที่คุณไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า การกู้ยืมเงินก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยประคับประคองธุรกิจคุณไว้ได้ดีทีเดียวค่ะ
5. ธุรกิจคุณกำลังเผชิญการแข่งขันที่ดุเดือด
หากคุณอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด เช่น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ, อาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจท่องเที่ยว คุณมักจะพบ "สงครามขายตัดราคา" (price war) ทำให้กำไรของคุณไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้แต่ต้น คุณควรมีกลยุทธ์ที่สามารถตอบโต้การแข่งขันเช่นนี้ โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการให้แตกต่าง เพื่อครองส่วนแบ่งทางการตลาด หรือวิเคราะห์คู่แข่งด้วย Porter's Five Force Model
อย่างไรก็ตาม หากลูกค้าของคุณเป็นกลุ่มลูกค้าที่ price-sensitive หรือตอบสนองต่อราคามากกว่าคุณภาพ คุณควรที่จะวางแผนทางการเงินดี ๆ ว่าหากต้องลงไปแข่งตลาดนี้ คุณจะอยู่รอดได้อย่างไรไม่เพียงแต่การแย่งชิงลูกค้าเท่านั้น ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง แต่ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะทาง เราจะเห็นได้ว่าบริษัทส่วนใหญ่ทุ่มงบจ้างพนักงานโดยเสนอเงินเดือนที่สูงกว่าอัตราจ้างในตลาด เพื่อที่จะได้พนักงานคุณภาพเหล่านี้มา ธุรกิจของคุณก็ควรเตรียมรับมือกับสถานการณ์นี้เช่นกัน การขอสินเชื่อเพื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้บริษัทสามารถรับมือกับสถานการณ์คับขันได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
6. คุณเพิ่งรับเมกะโปรเจค จากลูกค้ารายใหญ่
เมื่อธุรกิจของคุณไปได้ดี มีลูกค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง วันหนึ่งเกิดมีลูกค้ารายใหญ่ในตลาดแสดงความสนใจใช้บริการ หลายคนก็ไม่อยากปฏิเสธลูกค้ารายใหญ่จริงมั้ยคะ เพราะนอกจากดีลจะใหญ่แล้ว ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กัยพอร์ตฟอลิโอของบริษัทด้วย แต่โปรเจคใหญ่มักมากับค่าใช้จ่ายที่ยิ่งใหญ่เช่นกัน เพราะคุณต้องสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าของคุณว่าคุณสามารถส่งมอบงานได้ตามที่ได้รับมอบหมาย หลายบริษัทต้องจ้างพนักงานชั่วคราวจำนวนมากเพื่อทำโปรเจคนี้โดยเฉพาะ แต่ลูกค้าบางรายอาจขอให้เราออกเงินค่าสินค้าไปก่อน ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น คุณเองจำเป็นต้องมีเงินทุนหมุนเวียนเพื่อจ่ายเงินเดือนพนักงานและซื้อสินค้าเพียงพอ การขอสินเชื่อส่วนบุคคลอาจเป็นทางเลือกสำหรับกรณีที่คุณพึ่งได้รับโปรเจคใหญ่ค่ะ
7. คุณพบว่าลูกค้าไม่รู้จักแบรนด์ของคุณ
ในโลกที่แบรนด์เข้ามาเล่นในการตลาดออนไลน์จำนวนมาก ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการโปรโมทแบรนด์ หรือสินค้า รวมไปถึงการได้ลูกค้ามา (user acquisition) นั้นสูงขึ้นมาก จากการที่เราพูดคุยกับหลายแบรนด์ที่เป็น SME พบว่า งบการตลาดในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมาก เพื่อที่จะสร้างการเติบโตของบริษัทให้เป็นไปตาม KPI ที่กำหนดจะเห็นได้ว่าการลงทุนกับการทำการตลาดคือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมายของคุณ และหากคุณสร้างคอนเทนต์ที่ดี มีโปรดักส์ที่ตอบโจทย์ ก็ยังช่วยให้คนกลุ่มนี้กลายมาเป็นลูกค้าของคุณอีกด้วย
แต่แน่นอนว่าทุนที่จะลงไปกับการโฆษณาธุรกิจของคุณ โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นย่อมมีตัวเลขที่สูง ลองพิจารณาดูค่ะว่าเงินทุน หรืองบการตลาดมีเพียงพอกับการสร้าง brand awareness หรือไม่การต้องคอยรัดเข็มขัดการใช้จ่ายเงินของธุรกิจคุณอยู่เรื่อย ๆ ไม่เพียงจะเพิ่มช่องทางให้คู่แข่งได้ช่วงชิงพื้นที่ในตลาดมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการขยับขยายอย่างมีประสิทธิภาพของธุรกิจคุณอีกด้วย หากคุณมองเห็นซึ่งสัญญาณต่างๆ ที่บ่งบอกว่าธุรกิจของคุณกำลังต้องการทุนเพิ่ม PeerPower พร้อมจะช่วยคุณในเรื่องนี้ค่ะ
เพียร์ พาวเวอร์ คือผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งระบบคราวด์ฟันดิงคือตัวกลางในการระดมทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยวิธีการออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ในขณะเดียวกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่สามารถเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่เสนอขายหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงในแพลตฟอร์มได้ สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ ที่นี่
______________________________________________________________________________________
คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว