4 พฤติกรรม หรืออุปนิสัยที่จะช่วยให้ ผู้นำ พาองค์กรผ่าน สภาวะวิกฤต ไปได้
ถ้าย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน บทบาทผู้บริหารของแต่ละท่านต่างมุ่งเน้นไปที่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ให้เติบโต หรือการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด แต่ในขณะนี้ ผู้บริหารคนเดียวกันนั้นต้องมาเผชิญกับอุปสรรค และสิ่งกีดขวางบางอย่างที่คนทั้งโลกไม่คาดคิดมาก่อน อย่างการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ในการเปลี่ยนเป้าหมายหลัก จากการเพิ่มยอดขายมาสู่การควบคุมต้นทุน และการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจให้อยู่รอด รวมถึงลักษณะการทำงานในหลาย ๆ องค์กรต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรักษาสุขภาพ ความปลอดภัยทั้งของตนเอง และพนักงาน และนี่คือความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ของผู้นำองค์กรในปัจจุบันครับ
ผลสำรวจจากทีม ghSMART ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้นำกว่า 21,000 คนทั่วโลก ซึ่งได้ข้อสรุปที่คล้ายกันออกมาว่า พฤติกรรม หรืออุปนิสัย 4 แบบ ที่จะช่วยนำพาองค์กรผ่านสภาวะวิกฤตนี้ไปได้ จะต้องประกอบไปด้วย
1. Decide with speed over precision การตัดสินใจเร็ว อาจสำคัญกว่าความถูกต้องแม่นยำ
ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน ในสภาวะวิกฤตแบบนี้ ผู้นำที่ดีจะประมวลผลข้อมูลที่มีอย่างรวดเร็ว เรียงลำดับหรือกำหนดสิ่งที่สำคัญที่สุดได้ และพร้อมที่จะตัดสินใจด้วยความมั่นใจสิ่งที่ควรปฏิบัติ:
- เรียงลำดับความสำคัญให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญสำหรับองค์กร
- ถ้าต้องแลกเปลี่ยน หรือยอมเสียสละอะไรบางอย่างตอนนี้ ต้องแลกอย่างชาญฉลาด
- กำหนดขอบเขตให้ชัดเจนว่าในเวลาแบบนี้ ใครมีบทบาทตัดสินใจเรื่องอะไรในองค์กร
- การลงมือทำเป็นเรื่องสำคัญ และข้อผิดพลาดต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าช่วงเวลาปกติ เพราะฉะนั้น
2. Adapt boldly ปรับตัวอย่างกล้าหาญ และเปลี่ยนตามสถานการณ์ให้ทันท่วงที
ผู้นำที่แข็งแกร่งจะก้าวผ่านสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว ผู้นำจะต้องแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ไม่กลัวที่จะยอมรับในสิ่งที่ไม่รู้ และนำความเชี่ยวชาญภายนอกมาใช้เมื่อจำเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ:
- เรื่องที่สำคัญที่สุด คือ การตัดสินใจให้ได้ว่าจะไม่ทำอะไร
- โยนบทเรียน หรือ สิ่งที่คุณเคยใช้มาก่อนหน้านี้ทิ้งไป แล้วเริ่มคิดใหม่ ทำใหม่ เพราะสิ่งเดิม ๆ ไม่สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ตอนนี้อีกต่อไป
- เสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างองค์กร ให้ผู้นำสามารถติดต่อกับคนที่อยู่หน้างานได้โดยตรง และเร็วที่สุด
3. Reliably deliver ผู้นำ ที่ดีควรลงมาปฏิบัติ หรือบัญชาการงานด้วยตัวเอง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
ผู้นำที่ดีควรแสดงความรับผิดชอบต่องานต่าง ๆ ด้วยตัวเองในยามวิกฤต แม้ว่าความท้าทาย และปัจจัยหลาย ๆ อย่างจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคุณก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ทีมมองภาพเดียวกัน และรับรู้ถึงเป้าหมายขององค์กรว่าตอนนี้ควรจะโฟกัสในเรื่องไหน โดยมีการแบ่งหน้าที่ และตัวชี้วัดที่ชัดเจนสิ่งที่ควรปฏิบัติ:
- ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และมี Dashboard หรือรายงานบันทึกประจำวัน เพื่อคอยควบคุมกลยุทธ์ และปรับใช้ตลอดเวลา
- ตั้งค่า KPI (Key Performance Indicator) และตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของคนในองค์กรทุก ๆ สัปดาห์
- รักษาสุขภาพกาย และสุขภาพใจให้แข็งแรงพอที่จะสู้กับภาวะวิกฤตได้
4. Engage for impact หาวิธีการสื่อสาร หรือเชื่อมต่อกับคนในองค์กร เพื่อกระตุ้นให้เห็นภาพของเป้าหมายเดียวกัน
อย่าลืมว่าที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลาวิกฤตแบบนี้ ไม่มีงานไหนจะสำคัญเท่าการดูแลคนในองค์กรของคุณ ผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะเข้าใจในสถานการณ์ และสภาพจิตใจของคนในทีม ผู้นำต้องหาวิธีการสื่อสารที่ดีที่จะเชื่อมต่อกับคนในทีมอย่างชัดเจน และทั่วถึง เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจให้กับทีม รวมไปถึงกระตุ้นให้เห็นภาพของเป้าหมายเดียวกันสิ่งที่ควรปฏิบัติ:
- เชื่อมต่อพูดคุยกับคนในองค์กรแต่ละคนในทุก ๆ วันอย่างใกล้ชิดมากกว่าเดิม
- ในสภาวะวิกฤต อาจจะต้องลงไปแก้ปัญหาบางอย่างด้วยตัวเอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทีม
- ต้องกล้าที่จะถามหาความช่วยเหลือจากลูกน้องในสิ่งที่เราไม่รู้
- อย่าลืมสร้างความมั่นใจให้กับทั้งฝั่งลูกค้า และฝั่งพนักงาน
- มีน้ำใจ และช่วยเหลือคนในองค์กรให้มากที่สุด เพื่อให้เขาสามารถทำงานได้ในสภาวะที่ไม่ปกติ
- ในช่วงเวลาแบบนี้ผู้นำควรจะเข้าใจหน้าที่ของตัวเองให้ดีนะครับ เพราะเราเหมือนเป็นแม่ทัพในศึกสงคราม ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่จะต้องทำงานหนัก และสู้ให้ถึงที่สุด
เพียร์ พาวเวอร์ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกท่านที่กำลังประสบปัญหา ให้ผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้ครับ
_______________________________________________________________________
คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว