Success Strategy

Big Data กับการปรับใช้ประโยชน์เพื่อ SME

by
February 8, 2018

Big Data กับการปรับใช้ประโยชน์เพื่อ SME

หลายปีหลังมานี้ เพียร์ พาวเวอร์ เชื่อว่าไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินคำว่า Big Data เพราะมีการตื่นตัวกับเรื่องดังกล่าวในหลายส่วนของสังคม และแม้จะเป็นการเก็บเกี่ยวข้อมูลจากรอบตัวเรา แต่กลับเป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับคนทั่วไป ทั้งที่ความจริงแล้ว Big Data มีประโยชน์มากในเชิงพัฒนา เพราะเป็นข้อมูลที่เราจะสามารถนำมาใช้กำหนดทิศทางและแก้ปัญหาต่างๆ ภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี

Big Data คืออะไร

คือกลุ่มข้อมูลจำนวนมากที่ถูกรวบรวมขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง อาจเป็นทั้งโลก ทั้งประเทศ หรือทั้งองค์กร เพื่อนำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ ซึ่งข้อมูลที่ถูกรวบรวมขึ้นมาเป็น Big Data จะเป็นข้อมูลที่ถูกจัดรูปแบบมาแล้ว (Structured)

เช่น ข้อมูลเชิงประชากรของลูกค้าที่มาจากการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม สถิติเวลาที่สแกนนิ้วเข้าทำงานของพนักงานฯลฯ หรือข้อมูลที่ยังกระจัดกระจายกันอยู่ (Unstructured) เช่นข้อมูลที่ถูกโพสต์ขึ้นบนโซเชียลมีเดียของแต่ละคน รูปภาพที่แชร์ คลิป พฤติกรรมต่างๆ ที่ถูกเก็บเป็นข้อมูลไว้เป็นต้น ซึ่ง Big Data จะเป็นข้อมูลที่มีลักษณะ 4V คือ

Volume : เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ คือมีปริมาณมาก ไม่ใช่ไฟล์ไฟล์เดียวที่เก็บไว้ตามฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ทั่วไปได้

Velocity : เป็นข้อมูลที่ถูกจัดเก็บด้วยความเร็วสูง ในการประมวลผลข้อมูลและแสดงผลออกมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ

Variety : เป็นข้อมูลที่มีความหลากหลาย คือมาจากหลายกลุ่ม หลายประเภทเนื้อหา

Veracity : เป็นข้อมูลที่มีหลายระดับคุณภาพ หลายระดับมูลค่า เพื่อใช้ในการวิเคราะห์

Big Data คืออะไรประกอบด้วยอะไรบ้าง

Big Data มีประโยชน์ต่อใครบ้าง

การเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ระดับ Big Data เป็นข้อมูลที่ต้องประมวลมาจากหลายแหล่งหลายที่ เพื่อนำมาประมวลผลและใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งข้อมูลที่ได้จาก Big Data สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายระดับ ดังต่อไปนี้

การใช้ Big Data ในระดับโลกหรือระดับการกำหนดนโยบาย

ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจหรือสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม หรือการประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของภัยพิบัติต่างๆ การใช้ข้อมูลแบบ Big Data คือหนึ่งในทางเลือกที่เป็นประโยชน์ ที่ผ่านมา Big Data ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยปรากฏเป็นรูปธรรมที่สุดเมื่อปี 2015 จากการร่วมลงนามในสัญญาของประเทศสมาชิก UN จำนวน 30 ประเทศ ที่ต้องการผลักดันเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การเงิน ให้เหลือน้อยที่สุด

โครงการดังกล่าวต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากจากส่วนต่างๆ ทั่วโลก ด้วยวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยต้องใช้ทั้งข้อมูลที่กลุ่มผู้กำหนดนโยบายถืออยู่ในมือ เช่นข้อมูลประกันสังคมที่บอกได้ถึงการเข้าถึงสิทธิทางสาธารณสุข อัตราการจ้างงาน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน เป็นต้น หรือข้อมูลที่ต้องการการสำรวจใหม่ รวมทั้งข้อมูลที่มีการบันทึกกผ่านดาวเทียม เช่นแผนที่ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา สภาพภูมิศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยมีส่วนเชื่อมสำคัญคือการเข้าถึงโซเชียลมีเดียผ่านอินเทอร์เน็ตของประชากรในพื้นที่ ที่สร้าง Digital Footprint ช่วยเติมเต็มข้อมูลที่ยังขาดหายไปของกลุ่มผู้กำหนดนโยบาย และ Machine Learning ที่ช่วยประเมินผล คัดกรอง และแสดงข้อสรุปที่มีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาต่อ เช่นประเทศแถบแอฟริกาใต้ เช่น ไนจีเรีย แทนซาเนีย อูกันดา มาลาวี หรือรวันดา ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัญหาที่พบได้ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน การพัฒนาทั้งภูมิภาคไปพร้อมกัน จึงใช้การผสมผสานระหว่างข้อมูลที่รัฐบาลมี การเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลทางดาวเทียมเพื่อระบุตำแหน่งต่างๆ ของแต่ละครัวเรือนเพื่อแสดงการเข้าถึงยริการของรัฐ และได้รับการเติมเต็มข้อมูลให้สมบูรณ์ด้วย Digital Footprint อันเกิดจากการใช้งานโซเชียลมีเดีย ด้วยการติดตั้งแอปพลิเคชั่นให้ประชาชนผู้ใช้งาน การเก็บข้อมูลจำนวนมากดังกล่าวถูกนำมาประมวลผลอีกครั้ง และจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ฝ่ายผู้กำหนดนโยบายสามารถนำมาวิเคราะห์ถึงปัญหา และวางแผนแก้ไขปัญหานั้นในระดับประเทศ หรือระดับโลกต่อไป

นอกเหนือจากปัญหาเชิงเศรษฐกิจสังคมแล้ว Big Data ยังใช้งานได้ดีในแง่ของการป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติอีกด้วย เพราะมีการเก็บสถิติสภาพอากาศย้อนหลังจากดาวเทียมและส่วนอื่นๆ ที่สามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำว่าจะเกิดภัยธรรมชาติเช่นพายุ ขึ้นหรือไม่ ทำให้สามารถวางแผนรับมือ และบรรเทาภัยพิบัติได้ถูกจุด หรือแม้กระทั่งภาวะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง(Climate Change) Big Data ก็สามารถบอกหรือพยากรณ์ได้เช่นกัน

ระดับองค์กรธุรกิจ

การนำ Big Data มาใช้ในธุรกิจคล้ายกับในระดับกำหนดนโยบายในมุมที่เป็นการมุ่งสร้างสรรค์แนวทาง หรือแก้ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นในธุรกิจ โดย Big Data ที่ใช้จะเป็นข้อมูลที่อยู่ในระดับธุรกิจนั้นๆ นำมารวบรวมและประมวลผลเพื่อให้เกิดผลกระทบในเชิงองค์กร

Big Data แก้ปัญหาในธุรกิจอะไรได้บ้าง

Big Data แก้ปัญหาในธุรกิจอย่างไร

Big Data ใช้ได้ผลในองค์กรระดับโลกเป็นจำนวนมาก โดยอุตสาหกรรมที่สามารถนำ Big Data มาปรับใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กด้านเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพียร์ พาวเวอร์ พบว่าหลายองค์กรสามารถนำ Big Data มาใช้ประโยชน์ได้มหาศาล โดย Big Data มักถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาในธุรกิจด้านต่างๆ ต่อไปนี้

ด้านการตลาด

เราจะพบการนำ Big Data เข้ามาแก้ปัญหาทางการตลาดในหลายแง่มุม เช่นการนำความต้องการเชิงลึก (Insight) ของลูกค้ามาใช้ในการออกแบบสินค้าและบริการแบบที่บริษัทส่วนใหญ่ใช้อยู่แล้ว หรือเพิ่มอีกช่องทางในการสร้างรายรับให้กับบริษัทจากข้อมูลที่มีในมือ เช่น The Weather Channel ที่ไม่เพียงรายงานสภาพอากาศให้คนในพื้นที่ แต่ยังส่งข้อมูลให้กับบริษัทที่ผลิตสินค้าและบริการเพื่อใช้ในการยิงโฆษณาสินค้าจำเป็นเฉพาะพื้นที่ที่เหมาะกับสภาพอากาศนั้นๆ อีกด้วยหรือจะเป็น Netflix สตรีมมิ่งขวัญใจลูกค้าทั่วโลกที่ใช้ Big Data ในการจัดโปรแกรมเนื้อหาให้เข้ากับแต่ละประเทศ หรือทำได้มากกว่านั้นด้วยการสร้างเนื้อหาที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าแบบรายบุคคล เช่นหน้า The Feed ของ E-Bay ที่ช่วยให้ลูกค้าหาของที่อยากได้เจอไม่ว่ามันจะหายากแค่ไหนก็ตาม

ด้านการแพทย์

การนำ Big Data มาใช้ในด้านการแพทย์ให้ผลที่สร้างสรรค์ และน่าทึ่งเสมอ เช่น Aetna ที่เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับการดูดซึม (Methabolism) จำนวนมาก นำมาประมวลผลเพื่อพยากรณ์ปัจจัยการเกิดโรค ทำให้สามรถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวได้มากขึ้น และลดภาระของแพทย์ลงได้ถึง 60% จากอัตราการพบแพทย์เทียบกันระหว่างก่อนและหลังการศึกษาดังกล่าว หรือจะเป็นการค้นพบตัวยาที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดจากการรับประทานยาคุมกำเนิดของกลุ่มสมาชิกในห้องแชต ที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคดังกล่าวลงได้ถึง 77% ของ Kaiser

ด้านการเงิน

มีทั้งการเก็บข้อมูลเพื่อเสนอการใช้งานผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เดหมาะสมกับผู้ใช้งาน การสร้างโปรแกรม Loyalty และ Cash Back ที่เกี่ยวข้องหมาะสมให้กับลูกค้าแบบรายบุคคลของ Bank of America หรือโปรแกรมการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาของ Commonbond ที่ให้นักศึกษาปัจจุบันขอระดมทุนจากศิษย์เก่าซึ่งเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ โดยนักศึกษาที่ขอกู้ยืมจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่น

ด้านการขนส่ง

ความสะดวกอีกข้อของ Big Data คือสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบการติดตามข้อมูล (Tracking) ของบริษัทขนส่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Delta ที่สามารถติดตามกระเป๋าแต่ละใบได้อย่างแม่นยำ หรือจะเป็น UPS ที่ใช้ Big Data เชื่อมโยงกับ GPS เพื่อให้การขนส่งไม่ออกนอกเส้นทาง และเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด ให้ผลลัพธ์คือประหยัดเวลาและค่าน้ำมันที่ใช้ในการขนส่งต่อปีไปได้มาก

Big data กับแนวทางปรับใช้ในธุรกิจ SME

Big Data กับแนวทางปรับใช้ในธุรกิจ SME

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า Big Data คือการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่จากหลายๆ ส่วนมาประมวลผลเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจ SME แล้ว Big Data อาจไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะขนาดของธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลขนาดใหญ่แบบ Big Data แต่เจ้าของธุรกิจสามารถนำการวิจัยข้อมูลและประมวลผลมาใช้กับธุรกิจของตัวเองได้ โดยวิธีการทำงานของ Big Data ที่เพียร์ พาวเวอร์ พบจากการทำงานของหลายๆ แหล่งคือ

ระบุปัญหาหรือเป้าหมายที่ต้องการไปถึง

ว่าสิ่งที่เป็นปัญหากับธุรกิจของเราคืออะไร เช่นมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากเกินไป ต้องการจะลดค่าใช้จ่ายให้น้อยลงกว่านี้

เก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง

หรือหากยังไม่มีข้อมูลจะสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานในอนาคตก็ได้ เช่นอาจมีการบันทึกการใช้จ่ายและต้นทุนต่างๆ ในธุรกิจ

เติมเต็มข้อมูลที่ขาดหายไปด้วยวิธีการต่างๆ

ข้อมูลที่เข้าไม่ถึง แต่จำเป็นต้องรู้คืออะไรบ้าง แล้วหาส่วนนั้นมาเติมให้สมบูรณ์ เช่นต้นทุนที่เราไม่ทราบคืออะไร หรืออะไรที่เป็นต้นทุนแฝง

ประมวลผลและนำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา

Big Data ช่วยได้ในแง่ของการระบุปัญหา และวิเคราะห์สาเหตุการเกิดขึ้นของมัน รวมทั้งอาจทำให้มองเห็นรูปแบบการแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเพื่อนำมาปรับใช้ เช่นเดียวกับการวิจัยในธุรกิจของผู้ประกอบการ SME ที่สามารถมองเห็นและตามหาแนวทางการแก้ปัญหาได้ หากทราบที่่มาและมีบทเรียนจากข้อมูลเดิมแม้ Big Data จะไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดกลางและย่อมโดยตรง แต่ในปัจจุบันโลกการค้าไม่ได้จำกัดอยู่แค่ออฟไลน์อีกต่อไป การเข้าสู่ตลาดดิจิทัลและต้องการอยู่รอดต้องเข้าใจและใช้ข้อมูลให้เป็น หรือสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจ นอกจากข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การได้รับโอกาสและเงินทุนที่เพียงพอก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จำเป็น และหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนอยู่ ลองมาออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงกับเพียร์ พาวเวอร์ ได้เลย

Ref.https://businessesgrow.com/2016/12/06/big-data-case-studies/https://www.brookings.edu/research/using-big-data-and-artificial-intelligence-to-accelerate-global-development/

_______________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร