6 อุตสาหกรรมที่ Blockchain จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง

by
March 13, 2018

6 อุตสาหกรรมที่ Blockchain จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง

เชื่อว่าใครที่ติดตามวงการฟินเทคมาซักระยะคงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า "Blockchain"

หลายคนคงคุ้นเคยกับการนำบล็อกเชนมาใช้ใน FinTech แต่จากภาพประกอบด้านล่าง จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain Technology) ไม่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อธุรกิจการเงิน การธนาคารเท่านั้น แต่ยังมีผลกับอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกด้วย เพราะแม้ Blockchain จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างระบบ Bitcoin แต่เราก็สามารถนำมันไปพัฒนาระบบในแวดวงต่างๆ ได้วันนี้เราจะมาพูดถึง 6 อุตสาหกรรมที่เทคโนโลยี Blockchain จะเข้ามามีอิทธิพลในปี 2021 นี้ มาดูกันว่ามีอุตสาหกรรมอะไรบ้าง และจะเป็นในรูปแบบใดครับ

blockchain 2018 infographic

เครดิตภาพ

1. การเงินและการธนาคาร

อุตสาหกรรมแรกที่อดพูดถึงไม่ได้คือ อุตสาหกรรมการเงิน โดยเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยลดขั้นตอนในการดำเนินการธุรกรรมทางการเงิน ทำให้ธุรกรรมการเงินสามารถสำเร็จได้อย่างรวดเร็วรายงานของ Accenture ระบุว่ากระบวนการในการพิจารณาการให้สินเชื่อปกติแล้วใช้ระยะเวลานานราว 20 วัน จะมีโอกาสลดลงเหลือเพียง 1 วันเท่านั้น หรืออย่างในกรณีการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งปกติแล้วการโอนเงินข้ามประเทศใช้เวลาประมาณ 1-4 วัน และมีค่าธรรมเนียมสูง แต่ปัจจุบันมีสกุลเงินดิจิทัล เช่น Ripple ช่วยกำจัดตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินข้ามประเทศทำให้ระยะเวลาในการโอนเงินลดลงเหลือเพียง 5-10 นาที นอกจากจะเร็วแล้ว ค่าธรรมเนียมในการโอนก็ถูกลงอีกด้วยนอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังช่วยในเรื่องของความแม่นยำและความปลอดภัยของข้อมูล เช่น การนำบล็อกเชนมาใช้ในการทำ KYC (Know Your Customer) จะช่วยป้องกันการปลอมแปลง แอบอ้างการใช้ข้อมูล รวมถึงการฉ้อโกงออนไลน์

2.อุตสาหกรรมยานยนต์

บริษัทรถยนต์ชั้นนำเช่นโตโยต้าเล็งเห็นความสำคัญของรถยนต์ไร้คนขับ โดยสถาบันวิจัย Toyota ได้ร่วมมือกับ MIT Media LAB ในการนำเทคโนโลยี Blockchain มาพัฒนาปรับใช้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยบล็อกเชนจะเก็บข้อมูลที่ได้จากผู้ผลิตรถยนต์และผู้ใช้งานรถยนต์กว่าพันล้านข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงความปลอดภัยของเทคโนโลยีไร้คนขับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากช่วยเรื่องประสิทธิภาพแล้ว เทคโนโลยีบล็อกเชนยังช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีไร้คนขับอีกด้วยนอกจากนี้ สถาบันวิจัย Toyota ยังร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพเล็กๆหลายราย เช่น BigchainDB ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาพัฒนาความสามารถของรถยนต์ไร้คนขับ (driverless car)

3. การบริจาคและระดมทุน

สิ่งที่มักเกิดขึ้นเมื่อเราทำการบริจาคเงินคือ เราไม่ทราบว่าเงินที่เราบริจาคไปนั้นถึงมือผู้รับจริงหรือไม่ เทคโนโลยีบล็อกเชนจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ โดยข้อมูลการบริจาคเงินตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางจะได้รับการเปิดเผยอย่างโปร่งใส ผู้บริจาคสามารถติดตามและตรวจสอบได้ว่าเงินที่ตนบริจาคไปนั้นถึงมือผู้รับจริงหรือไม่ ช่วยลดการฉ้อโกงจากมิจฉาชีพได้ นอกจากนี้เทคโนโลยีบล็อกเชนยังช่วยให้ขั้นตอนการเก็บเงินบริจาคสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น และช่วยมูลนิธิในการลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการกรณีของ Helperbit สตาร์ทอัพสัญชาติอิตาเลียน ได้นำ Blockchain มาช่วยในเชิงการกุศลผ่านการโอนเงินสกุลเงินดิจิทัล และสามารถตรวจสอบได้ว่าเงินนั้นถูกส่งหาคนที่ต้องการช่วยเหลือจริงหรือไม่

4. วงการบันเทิง

blockchain-music

เครดิตภาพลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วย Blockchain อย่างในกรณีของ Vezt ได้สร้าง Music Rights Marketplace ที่ผู้ฟังสามารถจ่ายเงินโดยตรงไปยังศิลปินได้เลย นอกจากจะช่วยเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว ยังช่วยตัดคนกลางออกไป ทำให้ศิลปินได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น หรืออย่าง Fimlchain ที่ใช้ระบบของ Ethereum ในการรวบรวมงบประมาณในการทำภาพยนตร์ และสื่อต่างๆ อย่างโปร่งใสโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง

5. วงการแพทย์

การประยุกต์ใช้ของบล็อกเชนในวงการสาธารณสุขมีหลากหลาย โดยเราจะเห็นว่ามีสตาร์ทอัพหลายรายนำ Blockchain มาใช้เพื่อเพิ่มความโปร่งใสของอุตสาหกรรมยาและการแพทย์ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น

  • จากกรณีศึกษา MedRec ผู้ป่วยสามารถจัดการประวัติการรักษาด้วย Ethereum บน Blockchain โดยสามารถเข้ามาดูข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาลจากทุกโรงพยาบาลที่เคยไปรับการรักษามาได้
  • แพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามหน่วยงานและแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้ เพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการนำข้อมูลมาวินิจฉัยและรักษาโรค แทนการเช็คแฟ้มประวัติคนไข้ หรือโทรศัพท์ไปขอข้อมูลผู้ป่วยกับสถานพยาบาลอีกแห่ง ตัวอย่างธุรกิจที่นำ Blockchain มาใช้ในวงการแพทย์ คือ บริษัท Cyph MD จากประเทศออสเตรเลีย

6. อุตสาหกรรมประกันภัย

Blockchain จะเข้ามาช่วยเพิ่มความโปร่งใสและป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการประกันภัย ซึ่งข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ใน "Decentralized Cloud Platform" ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในฝ่ายต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างเปิดเผย

  • Parametric Insurance คือ การประกันที่จะมีการจ่ายเงินให้ผู้ทำประกันเมื่อเกิดเงื่อนไขต่างๆ ตามที่ตกลงกันไว้ เช่น Rainvow คือธุรกิจที่ทำงานบน Ethereum Platform ที่วิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศแบบเรียลไทม์และชดเชยค่าเสียหายให้ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจประกันภัยที่นำเทคโนโลยี Internet-of-Things และเซนเซอร์มาใช้ช่วยบอกเหตุเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ ซึ่งได้รับความสนใจจากบริษัทรถยนต์จำนวนมาก
  • Peer-to-Peer Insurance การประกันที่ไม่ได้ใช้กองทุนใหญ่หรือบริษัทขนาดใหญ่เพียงรายเดียว แต่ระดมทุนจากผู้คนหลากหลายเพื่อใช้สร้างเป็นเงินสำรองสำหรับธุรกิจประกัน

เพียร์ พาวเวอร์ คือผู้ให้บริการระบบคราวด์ฟันดิงที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งระบบคราวด์ฟันดิงคือตัวกลางในการระดมทุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ด้วยวิธีการออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ในขณะเดียวกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่สามารถเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่เสนอขายหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงในแพลตฟอร์มได้ สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ ที่นี่

_______________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
No items found.
Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร