Success Strategy

Cash Conversion Cycle คืออะไร ทำไม SME ถึงต้องรู้จัก

by
PeerPower Team
December 27, 2018

Cash conversion cycle (CCC) หรือ วงจรเงินสด ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ถ้าหากเจ้าของกิจการมีความรู้ และความเข้าใจก็จะสามารถช่วยให้การบริหารจัดการเงินทุน อย่างการจัดการเงินสด การบริหารลูกหนี้ และ การใช้ Credit Term ให้มีประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณอย่างเต็มที่ จะมีเนื้อหาอะไรที่คุณสามารถนำไปประยุกต์ ใช้กับธุรกิจองคุณได้บ้างนั้นไปติดตามกันได้เลยครับ

Cash Conversion Cycle คืออะไร ทำไม SME ถึงต้องรู้จัก

Cash conversion cycle คืออะไร?

หากแปลเป็นภาษาไทยก็ คือ วัฏจักรของเงินสด หรือ วงจรเงินสด นั่นเอง

“วัฏจักรของเงินสด คือ กระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นคำสั่งซื้อจากลูกค้า ลงทุนในวัตถุดิบ ค่าแรงจนถึงการรับเงินจากลูกค้า ถึงเป็นอันสิ้นสุดใน 1 วัฏจักรเงินสด”

วัฏจักรของเงินสด หรือ ตัวย่อ CCC จะเริ่มต้นนับวันแรกที่ใช้เงินสดในการลงทุน ทั้งเงินที่กิจการได้กู้ยืมมา หรือ เงินที่เจ้าของกิจการนั้นต้องใช้เงินส่วนตัวในการลงทุนเป็นเงินสด ซึ่งถ้าหากเจ้าของกิจการสามารถคำนวณระยะเวลาของการดำเนินการ และต้นทุนที่ต้องใช้ทั้งหมดในทุก ๆ ขั้นตอนได้นั้นก็จะทำให้การบริหารจัดการเงินสดของกิจการนั้น มีสภาพคล่องตัวที่ดี ไม่เกิดสถานการณ์เงินขาดมือ จนทำให้กิจการต้องหยุดชะงักได้

Cash Conversion Cycle คืออะไร ทำไม SME ถึงต้องรู้จัก
Cash Conversion Cycle คืออะไร ทำไม SME ถึงต้องรู้จัก

มารู้จักกับสมการ ของ Cash conversion cycle (CCC) หรือ วัฏจักรของเงินสด  กัน

ในความเป็นจริงแต่ละกิจการต่าง มีความซับซ้อนในด้านการดำเนินการ และกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันไปต่างอุตสาหกรรม แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะ สมการของวัฏจักรของเงินสด  ไม่ยากอย่างที่คิด

“ วัฏจักรของเงินสด = ระยะเวลาทำงาน + ระยะเวลาเก็บเงินลูกหนี้ – ระยะเวลาที่ต้องจ่ายเงินเจ้าหนี้”

ขอเพียงแค่คุณรู้ 3 สิ่งนี้ก็สามารถทำให้คุณรู้จัก วัฏจักรของเงินสด ของบริษัทหรือกิจการของคุณซึ่งจะทำให้คุณสามารถบริหารการเงินรู้จักข้อดี และข้อเสียของธุรกิจคุณได้มากขึ้นแล้ว

Cash Conversion Cycle คืออะไร ทำไม SME ถึงต้องรู้จัก

ถ้าตัวเลขของ Cash conversion cycle (CCC) หรือ วัฏจักรของเงินสด  ไม่ดีจะส่งผลต่อธุรกิจของคุณอย่างไร?

ตัวเลขของ วัฏจักรของเงินสดที่ดีนั้น ควรจะ มีตัวเลขที่ ต่ำ หรือ ติดลบ เพราะนั่นหมายความว่า คุณมีเงินสดจำนวนหนึ่งที่สามารถไปลงทุนเพื่อขยายกิจการ อย่างเช่น การลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่ม มีเงินทุนในการจ้างงานพนักงานมากขึ้น หรือ มีเงินทุนสำรองในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด

แต่ถ้าหาก วัฏจักรของเงินสดของกิจการคุณนั้นเป็น “บวก” ก็แสดงว่าคุณต้องเตรียมเงินสดสำรองเพื่อใช้ในกิจการ มิเช่นนั้นแล้ว กิจการของคุณอาจจะเกิดการชะงัก และส่งผลเสียกับธุรกิจมากกว่าที่คุณคาดคิดไว้ได้ เช่น ถ้าหากคุณไม่สามารถส่งออเดอร์ได้ทันเวลาตามสัญญา อาจจะถูกยกเลิกคำสั่งซื้อ และทำให้เกิดการขาดทุนของกิจการ ที่เจ้าของกิจการ หรือ ผู้ถือหุ้นต้องเป็นผู้แบกรับในส่วนนี้

เจ้าของธุรกิจควรต้องทำอย่างไร? เมื่อ วัฏจักรของเงินสด หรือ CCC เป็นบวก

1. ต้องเผื่อเงินสดสำรองสำหรับธุรกิจให้เพียงพอ

ในกรณีที่ตัวเลข วัฏจักรของเงินสดของกิจการคุณนั้นไม่สูงมาก เจ้าของกิจการจำเป็นต้องเตรียมเงินสดสำรองไว้สำหรับกิจการ เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ถ้าหากเป็นจำนวนเงินที่สูง หรือ มีระยะเวลาที่นานอาจจะมองหาแหล่งเงินทุนสำรอง อย่างสินเชื่อเพื่อธุรกิจ หรือ สินเชื่อ Overdraft ที่สามารถขยายวงเงินของธุรกิจคุณ ให้มีสภาพคล่องที่ไม่ติดขัด

2. ลดระยะเวลา Credit term ที่ให้กับลูกค้า

ในกรณีของโรงงาน P พิมพ์เกิน หรือ จะยกตัวอย่างรึเปล่าครับ อาจจะลดระยะเวลา Credit term ที่ให้กับลูกค้า จาก 7 วันเป็นจ่ายเงินภายใน 3 วันหลังรับสินค้า ถ้าหากว่าธุรกิจของคุณนั้น มีความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดี และสามารถเจรจาต่อรองเรื่อง Credit term กับคู่ค้าได้ วิธีนี้ก็จะสามารถช่วยร่นระยะเวลาของ วัฏจักรเงินสด  ให้อยู่ในขอบเขตได้

3. เพิ่ม Credit Term จาก Supplier

การขอเพิ่ม Credit Term จาก Supplier สามารถทำได้ทั้ง เจรจาโดยการเปลี่ยนจาก ที่เคยต้องชำะเงินล่วงหน้าในการสั่งซื้อวัตถุดิบ เป็นขอยืดระยะเวลาในการจ่ายเงินเป็น 30 วันหลังจากรับของ หรือ อาจจะขอยืดระยะเวลาในการจ่ายเงินจากเดิม 30 เป็น 45 หรือ อีกหนึ่งวิธีในการเจรจาก็คือ จ่ายมัดจำเพียงครึ่งหนึ่งของราคาสินค้า วิธีนี้ก็สามารถช่วยให้สภาพคล่องทางการเงินของคุณนั้นดีขึ้นได้เช่นกัน

4.เร่งการผลิตของโรงงานให้เร็วขึ้น

แน่นอนว่าการพัฒนากระบวนการผลิตนั้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจทั้งหลายต้องดูแล และควบคุมการดำเนินการอย่างใกล้ชิด และถ้าหากว่าระยะเวลาในการดำเนินการนั้นนานเกินไป จนทำให้เกิดอุปสรรคในด้านของการบริหารจัดการการเงินอยูบ่อยครั้ง การพัฒนาการผลิต หรือ เร่งให้ระยะเวลาในการผลิตนั้นสามารถจบได้เร็วขึ้นโดนมีคณภาพของสินค้า หรือ บริหารที่คงเดิมได้ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินให้กับคุณได้เช่นกัน

5. ขอระยะเวลา Credit Term กับเจ้าหนี้

ในกรณีของ โรงงาน P อาจจะติดต่อกับเจ้าหน้าที่ธนาคาร เพื่อขอยืดระยะเวลาการจ่ายเงิน สำหรับกิจการที่มีการกู้เงินมาจากแหล่งสินเชื่อต่าง ๆ และมีกำหนดระยะเวลาในการคืนเงินที่ชัดเจน วิธีนี้อาจจะเป็นวิธีที่สามารถทำได้ยาก มีหลายขั้นตอน หรือ อาจจะต้องมีต้นทุนในการดำเนินการเพิ่มเติม แต่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การดำเนินธุรกิจของคุณในครั้งนี้สามารถดำเนินต่อไปได้

เป็นยังไงกันบ้างสำหรับ วัฏจักรของเงินสด (CCC)  หรือ วงจรเงินสด ที่เพียร์พาวเวอร์ได้รวบรวมข้อมูลมาให้กับเจ้าของกิจการทั้งหลายได้นำไปปรับใช้กับการบริหารสภาพคล่องทางการเงินกับธุรกิจของคุณ เพราะการบริหารกิจการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และมีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง เพียร์พาวเวอร์ขอเป็นกำลังใจ และพร้อมที่จะสนับสนุนทุกกิจการให้ฝ่าฟันกับปัญหา และอุปสรรคต่อไปได้ครับ

_______________________________________________________________________

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Author
PeerPower Team

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร