แหล่งเงินทุนแบบ Debt Crowdfunding กับ P2P Lending เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
แหล่งเงินทุนที่ดีเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากแสวงหาไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการหรือบุคคลทั่วไป ในขณะเดียวกันหากพูดถึงคำนี้ คนส่วนมากจะยังเข้าใจว่าสามารถขอแหล่งเงินทุนได้จากธนาคารและสถาบันการเงินเท่านั้น แต่น้อยคนจะทราบว่านอกจากสถาบันการเงินแบบอนุรักษ์นิยมที่เราคุ้นเคยกันดี ยังมีบริการแหล่งเงินทุนในรูปแบบ Debt Crowdfunding และ P2P Lending ที่เป็นแหล่งเงินทุนอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน เพียร์ พาวเวอร์ ขอหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาอธิบาย
แหล่งเงินทุน แบบ Debt Crowdfunding กับ P2P Lending มีจุดร่วมกันอย่างไร
ที่จริงแล้วทั้ง 2 ประเภทเป็นแหล่งเงินทุนในลักษณะการระดมทุน(Crowdfunding) แบบ Lending Based Crowdfunding คือการระดมทุนในลักษณะการให้สินเชื่อ โดยผู้ต้องการใช้แหล่งทุนจะขอระดมทุนจากนักลงทุนหลายๆ คนในครั้งเดียว ให้ได้ยอดระดมทุนในอัตราที่ร้องขอ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ และชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเหมือนกัน ซึ่งในต่างประเทศมักเรียกรวมกันแค่ Peer to Peer Lending หรือ P2P Lending
แหล่งเงินทุนแบบ Debt Crowdfunding กับ P2P Lending ต่างกันอย่างไร
สำหรับในประเทศไทยแล้ว P2P Lending อยู่ใต้การกกำกับดูแลโดย BOT ส่วน Debt Crowdfunding อยู่ภายใต้การกำกกับดูแลโดย SEC จึงทำให้แหล่งเงินทุนดังกล่าวในประเทศไทยแยกออกจากกันตาม ซึ่งแบ่งความแตกต่างออกไปได้อีก 3 ส่วน คือ
ผู้ใช้บริการแหล่งเงินทุน
แบบ Debt Crowdfunding ผู้ยื่นขอระดมทุนจะต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมาย เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในกิจการ เช่นขยายกิจการ หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียน ในขณะที่ P2P Lending ผู้ยื่นขอระดมทุนจะเป็นบุคคลธรรมดา ที่ยื่นขอระดมทุนเพื่อนำไปใช้จ่ายตามความต้องการ ซึ่งเป็นได้ทั้งใช้จ่ายส่วนตัวและประกอบธุรกิจ
วิธีการขอพิจารณาการลงทุน
ทั้ง Debt Crowdfunding และ P2P Lending ล้วนแต่ขอระดมทุนผ่านผู้ให้บริการที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทั้งคู่ ต่างกันตรงที่ Debt Crowdfunding ผู้ประกอบการจะขอระดมทุนในลักษณะการขอออกหุ้นกู้ ในขณะที่แบบ P2P Lending จะเป็นการขอสินเชื่อ เมื่อยื่นขอและได้รับการลงทุนจากนักลงทุนตามจำนวนที่ขอแล้ว จะมีการดำเนินการเซ็นสัญญาเพื่อรับเงินทุน และผู้ขอระดมทุนต้องชำระเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนให้กับนักลงทุนตามที่ระบุไว้ในสัญญา
อัตราการลงทุนต่อปีของนักลงทุน
ไม่มีการจำกัดอัตราการลงทุนต่อปีสำหรับนักลงทุนสถาบัน แต่สำหรับนักลงทุนรายบุคคล จะมีการจำกัดอัตราการลงทุนต่อปีไว้สำหรับทั้ง 2 ประเภท เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน โดยการลงทุนแบบ Debt Crowdfunding จะสามารถลงทุนได้ปีละไม่เกิน 1,000,000 บาท ในขณะที่การลงทุนแบบ P2P Lending จะจำกัดอยู่ที่ปีละ 500,000 บาท
แหล่งเงินทุนแบบ Debt Crowdfunding คล้ายหรือต่างอย่างไรกับแหล่งเงินทุนที่มีอยู่เดิม
ดังที่ทราบกันมาข้างต้นแล้วว่า เป็นการระดมทุนเพื่อนำไปใช้จ่ายเพื่อกิจการหรือใช้จ่ายส่วนตัว ดังนั้นจึงคล้ายกับสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เช่นบัตรเครดิต บัตรกดเงินสดต่างๆ แต่ข้อแตกต่างคือแบบ Debt Crowdfunding และ P2P Lending จะมีการประเมินอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับผู้ขอระดมทุนมากกว่า และผู้ขอพิจารณาการลงทุนสามารถใช้เงินทุนได้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์มากกว่าแบบดั้งเดิมนอกจากนี้การขอสินเชื่อแบบเดิมจะมีเจ้าหนี้เพียงคนเดียว คือธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ ในขณะที่แบบ Debt Crowdfunding และ P2P Lending นักงทุนมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ที่ต้องได้รับการชำระหนี้จากผู้ขอพิจารณาลงทุน ซึ่งในหนึ่งการร้องขอสามารถมีได้หลายคน Debt Crowdfunding และ P2P Lending เป็นได้ทั้งแหล่งเงินทุน และสินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคงที่ในเวลาเดียวกัน เพราะผู้ขอระดมทุนเมื่อได้เงินไปแล้วต้องชำระคืนเงินต้นเป็นงวดๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญา หมายความว่าแหล่งเงินทุนรูปแบบนี้มีผู้ได้รับประโยชน์ ที่ไม่ใช่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นมาอีก 1 จากเดิม คือฝ่ายของนักลงทุน
แหล่งเงินทุนแบบใหม่นี้ เหมาะกับใคร
ผู้ที่ได้ประโยชน์จากแหล่งเงินทุนแบบ Debt Crowdfunding และ P2P Lending มี 2 กลุ่มด้วยกัน
ผู้ต้องการใช้แหล่งเงินทุน
P2P Lending และ Debt Crowdfunding เหมาะกับผู้ต้องการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้นเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจหรือใช้จ่ายทั่วไป เช่นผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ในกิจการ ต่อเติมร้านค้าขยายสาขา ต้องการกระแสเงินสดหมุนเวียนภายในบริษัท หรือต้องการเงินทุนซื้อวัตถุดิบเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเป็นต้น หากเป็นลักษณะนี้ การขอพิจารณาการลงทุนแบบ Debt Crowdfunding จะเหมาะสมกว่า ในขณะที่แบบ P2P Lending จะเหมาะกับบุคคลธรรมดาที่ต้องการเงินทุนไปใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ
นักลงทุน
นักลงทุนที่สนใจจะลงทุนใน Debt Crowdfunding และ P2p Lending สามารถเข้าใจหลักการทำงานและผลตอบแทนของการลงทุนด้วยวิธีนี้ได้ง่ายๆ ด้วยการเทียบกับหุ้นกู้และการให้สินเชื่อตามลำดับโดยการลงทุนใน Debt Crowdfunding จะเป็นลักษณะของหุ้นกู้ระยะสั้น ที่ให้ผลตอบแทนตามการประเมินของระบบจากผู้ให้บริการ และจะได้รับการชำระคืนเป็นงวดๆ ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยจะได้รับเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนรายเดือน ซึ่งต่างจากหุ้นกู้ทั่วไปที่จะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนพร้อมดอกเบี้ยในงวดสุดท้าย และการลงทุนใน P2P Lending จะเป็นลักษณะการให้สินเชื่อ ได้รับผลตอบแทนเป็นการผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนซึ่งทั้ง 2 แบบมีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ เช่นเดียวกับหุ้นกู้และการให้สินเชื่อทั่วไป แต่ในส่วนนี้ผู้ให้บริการ Debt Crowdfunding หรือ P2P Lending อาจมีการช่วยเหลือเพื่อติดตามหนี้ รวมทั้งมีความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของสินทรัพย์ เพราะในปัจจุบันยังไม่มีตลาดรองออกมารองรับการซื้อขายระหว่างนักลงทุนด้วยกันเองข้อดีของการใช้แหล่งเงินทุนให้ถูกประเภทคือความเป็นระเบียบด้านบัญชี โดยเฉพาะเจ้าของกิจการที่มีการวางแผนขยายกิจการให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ การมีบัญชีที่แสดงงบกระแสเงินสดและเงินทุนหมุนเวียนที่ชัดเจนไม่ปะปนกับบัญชีส่วนตัว ย่อมแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ในการบริหารกิจการ การเข้าใจถึงความสำคัญของบัญชีธุรกิจ รวมทั้งการวางแผนกิจการอย่างเป็นระบบ สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มความโปร่งใสน่าเชื่อถือให้ธุรกิจซึ่งจะดีต่อแผนการขยายกิจการในอนาคต เพราะในการทำธุรกรรมตัวเลขทางบัญชียังเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้เพื่อพิจารณาอนุมัติสินเชื่อและประเมินความน่าเชื่อถือของธุรกิจนั้น แหล่งทุนทุกประเภทล้วนแต่มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ไม่ว่าจะใช้แหล่งเงินทุนเพื่อเป็นผู้รับเงินทุน หรือเป็นผู้ให้ลงทุน ควรมีการศึกษาให้ดีถึงความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพื่อให้การใช้แหล่งทุนของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
______________________________________________________________________________________
คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว