การมาถึงของนวัตกรรมดิจิทัล บางครั้งถูกมองเป็น Digital Disruption ซึ่งมีการถกเถียงกันเป็นวงกว้าง บ้างมองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาสู่สิ่งใหม่ๆ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งมองว่าเป็นการทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมแบบดั้งเดิมเดิมถูกทำลายลง
- Digital Disruption คือการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ที่เปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ รวมถึงพฤติกรรมของคนในสังคมใดสังคมหนึ่งไปอย่างฉับพลัน
- โมเดลของนวัตกรรมที่ถือเป็น Disruptive ต้องทำให้เกิด 3 สิ่งขึ้น คือ เกิดผลลัพธ์จากรูปแบบหรือโมเดลนั้น สามารถตีตลาดใหม่ได้ และเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเป็นดิจิทัล (Digital Based Model)
- การเกิด Digital Disruption เป็นไปได้ใน 3 โมเดล คือการเปลี่ยนความต้องการของตลาด เปลี่ยนการใช้จ่าย และเปลี่ยนการติดต่อสื่อสาร
- เมื่อโมเดลของ Digital Disruption ประสบความสำเร็จ จะสร้างผลลัพธ์ 3 ข้อคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาด เกิดการเปลี่ยนแปลงในวัฏจักรและการหมุนเวียนในตลาด และเกิดการเปลี่ยนแพลตฟอร์มการให้บริการ สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อโมเดลธุรกิจดั้งเดิม ที่จะถูกทำลายลง
Digital Disruption การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว
หลายปีมานี้ เพียร์ พาวเวอร์ เชื่อว่าหลายท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า Digital Disruption กระแสความตื่นตัวที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนผ่านสู่โลกออนไลน์ ที่เปลี่ยนแปลงสังคมรอบตัวของเราไปอย่างเห็นได้ชัด เราจึงได้เห็นทั้งความตื่นเต้นและตื่นกลัวจากหลายฝ่าย เพราะ Digital Disruption คือการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันที และไม่มีใครตอบได้ว่าที่สุดแล้วมันจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเราอย่างไรในอนาคต แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงคือการพัฒนาที่ก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ทั้งทางธุรกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในส่วนที่เพียร์ พาวเวอร์จะพูดถึงต่อไปนี้ คือเรื่องของ Digital Disruption ที่ส่งผลต่อธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งผู้ประกอบการและนักลงทุน
Digital Disruption คืออะไร
ความหมายแบบตรงตัวคือการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันทีด้วยดิจิทัล ซึ่งขยายความได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นถึงจุดที่สร้างนวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นได้ทั้งผลิตภัณฑ์ แพลตฟอร์ม หรือโมเดล และเกิดผลกระทบต่อมูลค่าของสินค้า บริการ หรือผลิตภัณฑ์เดิมที่มีในตลาด
Digital Disruption มีลักษณะอย่างไร
บางครั้งเมื่อเกิดเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมา หลายคนจะเกิดความตื่นกลัวว่า นี่คือ Digital Disruption ใช่หรือไม่ และอาจเหมารวมทุกโมเดลธุรกิจที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานความเป็นดิจิทัลอยู่ในส่วนนี้ด้วย ซึ่งไม่จริงเสมอไป เทคโนโลยีบางอย่างที่เกิดขึ้นแต่ไม่เกิดเป็น Disruptive ก็มีเช่นกัน การจะพิจารณาว่าโมเดลธุรกิจใดเป็นหรือไม่เป็น Digital Disruption ดูได้จาก 3 ข้อต่อไปนี้
เกิดผลลัพธ์ใหม่จากโมเดลนั้นหรือไม่
ในส่วนนี้จะดูว่าโมเดลหรือนวัตกรรมนั้นแก้ปัญหาให้กับลูกค้าในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนได้หรือไม่ เช่น บริการเรียกรถที่แก้ปัญหาคนที่บ้านอยู่ห่างจากถนนใหญ่ หรือบริการชมภาพยนต์แบบ Netflix ที่แก้ปัญหาคนไม่มีเวลาชมภาพยนต์
สามารถสร้างตลาดใหม่ได้หรือไม่
กลุ่มลูกค้าของสินค้าหรือบริการจากโมเดลธุรกิจนั้น เจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจนเกิดเป็นตลาดใหม่ที่มีฐานลูกค้าซึ่งแตกต่างจากลักษณะเดิมอย่างไร
เกิดขึ้นบนพื้นฐานของการเป็นดิจิทัลหรือไม่
เมื่อพูดถึง Digital Disruption การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลักษณะการแทรกแซงหรือทำลายจึงต้องเกิดขึ้นในโลกดิจิทัลตามไปด้วย หากโมเดลธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ตีตลาดใหม่ได้ หรือแก้ปัญหาใหม่ได้แต่อยู่บนโมเดลธุรกิจอื่นก็ไม่ถือว่าเข้าข่ายนี้
Digital Disruption มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
จากองค์ประกอบของความเป็น Digital Disruption ที่กล่าวมาแล้ว เราจะพบว่า Digital Disruption สามารถแบ่งประเภทย่อยๆ ให้ลึกลงไปได้ โดยวิธีการจำแนก ที่นิยมกันมี 2 แบบคือ
การแบ่งประเภท Digital Disruption ตามสิ่งที่เข้าไปเปลี่ยนแปลง
ในที่นี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ
เปลี่ยนแปลงความต้องการของตลาด (Transformation of Market Demand)
คือทำให้เกิดความอยากซื้อสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นใหม่มากกว่าที่มีอยู่และเคยเป็นที่ต้องการดั้งเดิม กรณีศึกษาเช่นการที่ฟิล์มสีโกดักส์ต้องเลิกผลิตไปเพราะการมาของกล้องดิจิทัล หรือพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชั่นเรียกรถแบบ Uber หรือ Grab car ที่คนนิยมใช้มากขึ้นแทนการขึ้นแท็กซี่นั่นเอง
เปลี่ยนแปลงการซื้อขายและจ่ายเงิน (Transformation of shopping and purchase)
เดิมการซื้อขายอิงกับเวลาและสถานที่ เราต้องจ่ายเงินสด เพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการ แต่ในปัจจุบันด้วย Digital Disruption ข้อจำกัดในเรื่องดังกล่าวได้หายไป เราสามารถซื้อขายผ่านออนไลน์ในระบบมาร์เก็ตเพลสต่างๆ จ่ายเงินออนไลน์ได้ รวมถึงมี E-Wallet ที่ทำให้การใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัลเป็นไปได้ง่ายขึ้น
เปลี่ยนแปลงการสื่อสาร (Transformation of communication)
เราอยู่กับการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารที่เป็น Digital Disruption คือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนวิธีการ วิธีคิดที่ใช้ในการสื่อสารให้ต่างไปจากเดิม เช่นเมื่อก่อนคนจะโทรศัพท์ผ่านเบอร์โทรศัพท์เพื่อพูดคุยกันแบบตัวต่อตัว แต่ในปัจจุบัน นิยมใช้การส่งข้อความแบบ Instant Message มากกว่า หรือคนทั่วไปจะไม่ค่อยโพสต์ภาพส่วนตัวทางออนไลน์ แต่เมื่อมาถึงยุคเฟื่องฟูของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook ที่คนแชร์หรือบันทึกเหตุการณ์ประจำวันในชีวิตด้วยสื่อต่างๆ ทั้งภาพ วิดีโอ ข้อความ ทั้งในลักษณะบุคคลต่อบุคคล หรือเป็นช่องทางที่เจ้าของธุรกิจใช้สื่อสารกับลูกค้าของตัวเองด้วย
การแบ่งประเภท Digital Disruption ตามโมเดลธุรกิจ
นอกจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการ Disruption แล้ว เกือบ 100% ของมันเกิดจากการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ๆ ในโมเดลที่แตกต่างกัน ซึ่งโมเดลธุรกิจที่เป็น Digital Disruption สามารถแบ่งได้เป็น 7 ประเภท
Experience Model เป็นโมเดลธุรกิจประเภทที่เกิดขึ้นจากการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับผู้ใช้สินค้าและบริการ เช่นทัวร์อวกาศ หรือรถยนต์ไร้คนขับของเทสลา Digital Disruption ประเภทนี้ มักมากับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ต่อยอดจากเทคโนโลยีผสมกับความต้องการเติมเต็มความรู้สึกของมนุษย์
Subscription Model คือสิ่งที่ต้องสมัครสวมาชิกก่อนถึงจะใช้บริการได้ โมเดลธุรกิจประเภทนี้คือสิ่งที่เราต้องเสียเงินเพื่อซื้อแพคเกจสินค้าหรือบริการของมันนั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเช่น แพลตฟอร์มในการดูหนัง ฟังเพลงต่างๆ ลักษณะนี้จะต่างจากการเป็นสมาชิกสิทธิพิเศษพวก Privileged ที่สินค้าหรือบริการเป็นอย่างอื่น แต่มีของแถมให้ถ้ามีการสมัครเป็นสมาชิก ลักษณะนี้จะเปลี่ยนความต้องการของตลาดจากซื้อสินค้าจาก
Free Model ที่จริงแล้วธุรกิจมีคำว่าฟรีหรือไม่ หลายคนก็อาจจะยังสงสัยอยู่ แต่ธุรกิจประเภท Digital Disruption มีโมเดลประเภทฟรีอยู่ ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของบริการ ที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น Facebook, Instagram ซึ่วผู้ใช้จะเปิดบัญชีแล้วใช้งานได้ เป็นต้น ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงจากการซื้อขายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการเป็นการใช้ฟรีนั่นเอง สังเกตง่ายๆ แทบไม่มีใครโทรหากันจากเบอร์โทรศัพท์อีกแล้วถ้ามีบัญชีไลน์ หรือเฟชบุ๊คที่สามารถโทรผ่านอินเทอร์เน็ตได้
Access Over Ownership Model เป็นลักษณะการ Login เข้าไปใช้บริการ แต่ไม่ใช่เจ้าของบริการนั้นเปิดให้ใช้เอง โมเดลลักษณะนี้เราจะเห็นได้จากแพลตฟอร์มการเช่าบริการต่างๆ เช่น Airbnb เป็นต้น ซึ่งตัวอย่างนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ซื้อจากต้องซื้อบริการจากเจ้าของสินค้าหรือบริการที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการโดยตรง ก็เปลี่ยนมาซื้อบริการที่เทียบเท่ากันได้
Ecosystem model คือการสร้างระบบที่ต้องใช้งานร่วมกันในสินค้าหรือบริการใดบริการหนึ่ง ลองมองไปรอบตัวหากคุณใช้สินค้าของ Apple คุณอาจพบว่าคุณไม่ได้มีสินค้าตระกูลนี้แค่เพียงชิ้นเดียว เช่นเดียวกับคนใช้แอนดรอยส์ที่อาจมีสินค้าที่ใช้ระบบของแอนดรอยส์อยู่หลายชิ้น เช่นมีแลปท็อป สมาร์ทวอทช์ แท็บเล้ต อื่นๆ อีกมากมายที่ใช้ระบบเดียวกัน เป็นกึ่งๆ การผูกขาดทางเทคโนโลยีที่ทำให้ต้องซื้อสินค้าและบริการจากผู้ผลิตเจ้าเดิมอยู่เรื่อยๆ
On Demand Model การขายบริการที่ลูกค้าจะซื้อเป็นครั้งๆ แต่ไม่ต้องการเป็นเจ้าของในระยะยาว ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตสินค้านั้นออกมาขายได้น้อยลง เช่นแกรบคาร์ ไลน์แท็กซี่ เป็นต้น
Freemium Model เราอาจจะเรียกมันว่าเป็นบริการทดลองใช้และซื้อเพื่อให้ได้บริการที่เหนือกว่า หรือมีระยะเวลาทดลองใช้ถ้าใช้ดีให้ลงทะเบียนเพื่อใช้งานต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าไม่ฟรีอีกต่อไป จะแตกต่างจาก Free Model ที่ฟรีจริงไม่จ่ายเงิน เราจะเจอโมเดลธุรกิจ Digital Disruption แนวนี้ได้จากหลายแพลตฟอร์ม เช่น Dropbox เว็บบริการเทมเพลตพรีเซนเตชั่นแบบ Rainforest เป็นต้น
Digital Disruption กับโอกาสทางธุรกิจ
สำหรับผู้ปะกอบการ การมาถึงของ Digital Disruption ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจได้ไม่น้อยเลย หากผู้ประกอบการสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ หรือเติมเต็มช่องว่างทางธุรกิจได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าคิดนวัตกรรมต่างๆ ไม่ออก ผู้ประกอบการสามารถนำนวัตกรรมที่เกิดขึ้นแล้วมาต่อยอดให้ธุรกิจของเราได้มากทีเดียว เช่นการใช้ประโยชน์จาก ออนไลน์ มาร์เก็ตเพลส ที่ลงขายสินค้าได้ รวมถึงมีระบบจัดการหลังบ้านที่ใช้งานง่ายรวมถึงการจ่ายเงินครบในที่เดียว ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SME สามารถขายออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องลงทุนทำตลาดเองนอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถสร้างโอกาสได้จาก Digital Disruption ในลักษณะของการเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจกับแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ เช่น แกรบ ไลน์ Airbnb เป็นต้น
Digital Disruption กับโอกาสในการลงทุน
สำหรับนักลงทุนแล้วหุ้นกลุ่ม FAANG ยังคงน่าสนใจอยู่เสมอ โดยเฉพาะ Facebook ที่ช่วงนี้ดูจะถูกจับตามองเป็นพิเศษจากการเข็นเอา Libra ออกมาให้ทั่วโลกตะลึงกันเล่นๆ แม้จะยังไม่ลอนช์ออกมาให้ใช้จริงจัง แต่ก็ฉุดบิทคอยน์ที่ขาลงมาสักพักให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง หรือหากเป็นนักลงทุนที่เน้นการเติบโต การมองหาบริษัทเทคโนโลยีเจ๋งๆ ที่มีโอกาสเติบโตก็มีอยู่ไม่น้อยความเปลี่ยนแปลงมี 2 ด้านเสมอ ทั้งด้านน่าสะพรึงกลัว และด้านที่นำพาความหวังมาให้ อยู่ที่เราจะค้นพบด้านไหนมากกว่ากัน เพียร์ พาวเวอร์เชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงจาก Digital Disruption ไม่ได้น่ากลัว หากเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับมันได้ เหมือนกับการขอสินเชื่อหรือลงทุนแบบเดิมๆ ที่สามารถมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าแบบเพียร์ พาวเวอร์นั่นเอง
______________________________________________________________________________________
คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว