Digitization Unlocked - บทบาทของ Enablers ที่จะช่วยธุรกิจ Digitized ในยุค New Normal

by
July 16, 2021

Digitization Unlocked - บทบาทของ Enablers ที่จะช่วยธุรกิจ Digitized ในยุค New Normal

จากมาตรการ Social Distancing คงทำให้ชีวิตประจำวันของทุกท่านเปลี่ยนไปหลายอย่าง รวมทั้ง วิธีในการทำงานด้วย สำหรับคนรุ่นใหม่การประชุม หรือ ทำงานออนไลน์อาจจะไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่สำหรับคนรุ่นเก่าที่ไม่คุ้นเคยกับอุปกรณ์เหล่านี้มากนัก ก็อาจจะต้องปรับตัวขนานใหญ่ ธุรกิจก็เช่นเดียวกันครับ การเปลี่ยนมาติดต่อลูกค้าผ่านทางออนไลน์ หรือ เปลี่ยนระบบเอกสารให้ไปอยู่บนคลาวด์เพื่อ เอื้อต่อมาตรการ Work From Home ค่อนข้างท้าทายกับธุรกิจที่ทำออฟไลน์มาตลอด ดังนั้น Enablers หรือคนกลางที่มาช่วย Digitized และแชร์ Know-How จึงกลายมาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะช่วยธุรกิจในยุคนี้ครับ

ชีวิตบนโลกออนไลน์กลายเป็น New Normal ใหม่ของคนไทยส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลโตขึ้น 7% จากโควิดและคาดว่าจะโตเฉลี่ย 25% ต่อปีในอีก 5 ปีข้างหน้า

Digitization Unlocked – บทบาทของ Enablers ที่จะช่วยธุรกิจ Digitized ในยุค New Normal

จากการศึกษาพบว่า ในธุรกิจนั้น การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้นถึง 30% ในปีนี้ และผู้ใช้ทั้งใหม่และเดิมต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า จะยังใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่อแน่นอนหลังจากหมดโควิด ระหว่างที่กำลังอ่านบทความนี้ เชื่อว่าหลายท่านก็พึ่งเดินไปรับของจาก Food Delivery หรือ บริการ Shopping Online ที่คุณพ่อคุณแม่ที่บ้านพึ่งกดสั่งมา จะสังเกตได้ว่าสัดส่วนการใช้บริการบนโลกออนไลน์เริ่มเพิ่มขึ้น แทนที่การใช้บริการในโลกจริง ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนออกมาทางสถิติ ว่า สัดส่วนมูลค่าของตลาดดิจิตัลเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จาก 17% ในปี 2018 ก็มีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 25% เลยทีเดียวใน 2027 เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่แค่ในไทยเท่านั้น เรื่องนี้ถือเป็นเมกะเทรนด์ของโลกที่น่าจับตามอง ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในโลกออนไลน์ความท้าทายขนานใหญ่สำหรับธุรกิจแบบดั้งเดิม การเข้ามาของ Enablers จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะปลดล็อกความท้าทายและเปิดประตูโอกาสให้ธุรกิจสามารถเข้าไปแข่งขันได้ในตลาดดิจิทัล

Digitization Unlocked - บทบาทของ Enablers ที่จะช่วยธุรกิจ Digitized ในยุค New Normal

บทบาทของ Tech Enablers ที่จะพา "ธุรกิจ" เข้าสู่ Innovation Ecosystem

บทบาทของ Enablers ที่ช่วย ธุรกิจ ประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ 8 ส่วน แบ่งเป็นระยะสั้นกับระยะยาว

บทบาทของ Enablers ประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ 8 ส่วน แบ่งเป็นระยะสั้นกับระยะยาว

ระยะสั้น - เน้นเพิ่มมูลค่าธุรกิจผ่าน Add-on Services เพื่อให้แข่งขันได้เร็ว

  • Capture - รวมข้อมูลเพื่อ Automated ระบบต่าง ๆ เช่น แชทบอทที่ช่วย Capture ลูกค้าอัตโนมัติ
  • Digitise - เปลี่ยนระบบ Paper based เป็น Paperless เช่น ใช้บล็อคเชนทำระบบจัดการเอกสารแบบ Scripless
  • Intelligence เช่น Image Recognition ที่ลูกค้าสามารถเอารูปที่แคปมาเสิร์จหาสินค้าโดยตรงแม้ไม่รู้คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

ระยะยาว - เพื่อทำให้ Business Process เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจต้องเปลี่ยนโครงสร้างหลายอย่าง

  • Automation - ทำระบบออโตเมทมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ เช่น Customer Self-Services Solutions ที่ลูกค้าสามารถคิดเงินเองแทนแคชเชียร์
  • Integration - เอา APIs หรือ IoT มาใช้
  • Data - ทำระบบเก็บและจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อได้
  • Analytics - ใช้ Big Data หรือ Machines Learning มาช่วยให้การตัดสินใจในองค์กรแม่นยำจาก Data Driven
  • Self-evolved - เพิ่มความสามารถในการพัฒนาองค์กรด้วยตนเองในระยะยาว เช่น ใช้ AI เข้ามาช่วย

องค์ประกอบทั้ง 8 อย่างอาจจะไม่ต้องใช้ครบทั้งหมด แค่เลือกที่เหมาะกับธุรกิจเท่านั้น ซึ่ง Enablers ก็มาช่วยธุรกิจที่ไม่ได้ถนัด หรือ มีทีม Research and Development ที่ทำตรงนี้โดยตรง เพื่อช่วยเปิดประตูให้ธุรกิจไปเเข่งในโลกดิจิตัลได้เร็ว และใช้ต้นทุนน้อยที่สุด

ระบบนิเวศทางนวัตกรรมไทยยังคงคึกคัก แม้มูลค่าการลงทุนใน Startups อาจจะไม่เทียบเคียงบางประเทศในภูมิภาค ASEAN

มูลค่าการลงทุนใน ธุรกิจ Startups อาจจะไม่เทียบเคียงบางประเทศในภูมิภาค ASEAN

Source : UOB, fintechnews.sg, techsauceท่ามกลางสถานการณ์โควิด Startup Funding ในไทยก็ยังเติบโตขึ้นไปในทิศทางเดียวกับอาเซียน แม้ยังทิ้งห่างจากการเติบโตของเจ้าตลาดอย่างสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย แต่สตาร์ทอัพในไทยส่วนใหญ่เป็น Series A, Early Series A จึงยังมีพื้นที่ให้เติบโตอีกมาก เรื่องที่น่าพิจารณา คือ ความเห็นจากคุณจิม วรพล พรวาณิชย์ CEO ของเพียร์ พาวเวอร์ ได้พูดถึง ระยะยาวของ Innovation Ecosystem ของไทยว่า ถ้าหากยังไม่สามารถส่งเสริมสตาร์ทอัพให้โตได้เร็วพอในปีสองปีนี้ ไทยก็อาจจะถูกฟิลิปปินส์ที่มีความได้เปรียบทางภาษา และได้รับการซัพพอร์ตจากอเมริกาแซงหน้าในไม่กี่ปีข้างหน้า คล้ายกับกรณีที่เวียดนามกลายเป็น Rising Star ดวงใหม่ของเอเชีย จากสตาร์ทอัพหลายสิบเจ้าที่มีศักยภาพจะเติบโตเป็นยูนิคอร์นจนดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก

สตาร์ทอัพเจ้าใหญ่ในไทยรายได้โตขึ้น 200% YoY จากตลาดที่เบนไปทาง Digital Commerce

ธุรกิจ สตาร์ทอัพเจ้าใหญ่ในไทยรายได้โตขึ้น 200% YoY จากตลาดที่เบนไปทาง Digital Commerce

แม้ว่าตลาดท่องเที่ยวออนไลน์จะหดตัวลงแต่ e-Commerce, Online Media, และ Ride Hailing ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในภาวะ New-normal ก็เข้ามาชดเชยได้พอดี สตาร์ทอัพหลายเจ้ามี Hyper-Growth จากการ Enable Online Solutions เช่น Flash ที่เป็นยูนิคอร์นตัวแรกของไทย หรือ Omise ที่ช่วยเกี่ยวกับ Payment Solution ความต้องการในตลาดที่เพิ่มมากขึ้นสะท้อนให้เห็นชัดการการที่ Enablers เหล่านี้เติบโตเฉลี่ย 120%-200% PeerPower เองในฐานะของ Enabler ที่ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นก็เชื่อว่าเราในฐานะ Ecosystem มีโอกาสที่จะโตได้อีก 5 เท่าภายในปี 2022

การระดมทุนหุ้นคราวด์ฟันดิงจะเข้ามาช่วยปลดล็อกการลงทุน และการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนานวัตกรรม

สัดส่วนการลงทุนใน Innovation Capital

ในปัจจุบันการลงทุนใน Innovation Capital ส่วนใหญ่ในไทยเป็น Corporate Venture Capital ถึง 68% (จากจำนวนดีลทั้งหมด) กว่าครึ่งในนั้นยังเป็นการลงุนจากบริษัทต่างชาติซึ่งทาร์เกตส่วนใหญ่ไม่ได้โฟกัสที่สตาร์ทอัพขนาดเล็ก แม้ว่าจะมีการระดมทุนแบบอื่นที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการอย่าง Crowdfunding แต่ที่มีอยู่ในปัจจุบันกับยังน้อยกว่า 1% ของ Innovation Capital ในไทย ซึ่งถ้าสามารถเพิ่มการระดมทุนแบบคราวด์ฟันดิง ได้การพัฒนานวัตกรรมและการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของสตาร์ทอัพก็อยู่แค่เอื้อมเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้ Enablers มีบทบาทสำคัญในการช่วยธุรกิจแบบดั้งเดิมให้เข้าไปแข่งขันในตลาดมูลค่าสูงนี้ได้ผ่าน Online Solutions ความต้องการเหล่านี้ทำให้ Enablers หลายเจ้าเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจที่ตนซัพพอร์ต สิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบนิเวศทางนวัตกรรมในไทยคึกคักตามทิศทางของโลก กระนั้นก็ยังน่าห่วงว่าหากสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ยังโตไม่เร็วพอ ก็อาจจะถูกประเทศในอาเซียนแซงไปไม่ช้า สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพเติบโตได้ คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทว่าทิศทางการลงทุนในไทยส่วนมากมาจาก Corporate VCs ซึ่งไม่ได้มีทาร์เกตหลักที่สตาร์ทอัพเล็ก ๆ การระดมทุนหุ้นคราวด์ฟันดิงจะเข้ามาช่วยได้แต่สัดส่วนที่มีในไทยก็ยังน้อยกว่า 1% จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ที่อุปทานมากกว่าอุปสงค์ การเติบโตของเศรษฐกิจดิทัลเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ Tech Startup สามารถเติบโตตามไปได้ ขาดเพียงลมใต้ปีกอย่างเงินทุนที่จะเป็นแรงหนุนสำคัญให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดเท่านั้น เพียร์ พาวเวอร์เองก็เห็นถึงโอกาสอันน่าเสียดาย และตระหนักว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ Innovation Landscape ต้องการแรงหนุนมากกว่าครั้งไหน เราพร้อมอย่างยิ่งที่จะเสนอ Equity Crowdfunding Solutions เพื่อซัพพอร์ต Innovation Ecosystem และเศรษฐกิจของไทย ในเร็ว ๆ นี้ปัจจุบัน เพียร์ พาวเวอร์ ให้บริการในรูปแบบของ "หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง" อีกหนึ่งตัวเลือก ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจ หากท่านใดที่ต้องต้องการเงินทุน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงกับเพียร์ พาวเวอร์ได้จากลิงก์ด้านล่างเลยครับ

Author

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร