เข้าใจรายรับ-รายจ่าย วางแผนการเงินด้วยเทคนิค “สามเหลี่ยมทางการเงิน”
เราเชื่อว่าหลายคนอยากจะมีชีวิตที่ไม่ลำบาก และอยากมีอิสระภาพทางการเงิน ซึ่งแน่นอนว่าทั้งหมดนั้นต้องมีการวางแผนหาเงินกันมาเป็นอย่างดี
ทีนี้พอศึกษาวิธีและเริ่มวางแผนจะพบว่า โดยทั่วไปตามหลักการจะบอกว่า
“ก่อนลงทุนควรมีเงินเก็บก่อนสัก xx เปอร์เซ็นต์”
หลายคนอาจเคยทำแบบนั้น (เราเองก็ด้วย) แต่พอทำไปสักพักกลับรู้สึกว่าวิธีนี้ไม่ตอบโจทย์สักเท่าไหร่ เพราะมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องประคับประคอง และวิธีนั้นก็ไม่ได้ครอบคลุม lifestyle การใช้จ่ายจริง ๆ
ดังนั้นวันนี้ PeerPower จะคุยเกี่ยวกับ “การวางแผนทางการเงิน” เพื่อให้คุณเข้าใจรายรับ-รายจ่ายของตัวเองด้วยเทคนิค “สามเหลี่ยมทางการเงิน” ไม่ว่าคุณจะมีเป้าหมายทางการเงินเพื่ออะไรก็แล้วแต่ เก็บเงินให้ลูก ซื้อบ้าน ปลดหนี้ ทำธุรกิจ ฯลฯ อย่างน้อยที่สุดถ้าคุณเห็นภาพใหญ่ และสร้างวิธีบรรลุเป้าหมายด้วยเทคนิคนี้คุณก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จได้
สามเหลี่ยมทางการเงิน คืออะไร?
สามเหลี่ยมทางการเงิน หรือ Financial Pyramid คือ แผนผังสามเหลี่ยมที่จะบอกสัดส่วนว่ารายจ่ายอะไรที่สำคัญกับเรา และเราควรใช้เงินไปกับรายจ่ายนั้นเท่าไหร่ เรียงขึ้นจากมาก-น้อยตามสัดส่วนของพีระมิด
ในสมัยก่อนสูตรของพีระมิดสามเหลี่ยมค่อนข้างที่จะตายตัว คือ รายจ่ายสำคัญอยู่ล่างสุด ข้างบนไล่ขึ้นไปจะเป็นเงินออม-เงินลงทุน ฯลฯ แต่ปัจจุบันคนมีรายจ่ายและภาระทางการเงินต่างกัน บางคนมีรายรับมากกว่า 1 ทาง และมีเทคนิคสร้างความมั่นคงกันหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นหน้าตาของผังพีระมิดสามเหลี่ยมนี้ก็เลยถูก customised ตามเจ้าของไป ตัวอย่างที่อาจเป็นไปได้ เช่น
ดังนั้นผังพีระมิดสามเหลี่ยมของแต่ละคนจึง “ไม่จำเป็น” ที่จะต้องเหมือนกัน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามภาระรายจ่ายโดยเอาตัวเองเป็นหลัก อันไหนสำคัญมากก็อยู่ที่ฐาน สำคัญรองลงมาก็ขยับขึ้น จัดลำดับได้ตามขั้นพีระมิดตัวเอง
ทีนี้คำถามที่จะตามมาคือแล้ว เราควรจัดรายจ่ายอะไรให้อยู่ในขั้นไหน? โดยเบสิกที่สุด ก่อนวางแผนการเงิน เราควรถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองก่อน
Checklist คำถามเมื่อเริ่มวางแผนทางการเงิน
วิธีที่จะทำให้แผนทางการเงินที่วางไว้สำเร็จ คือ คิดตามความเป็นจริงจากไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายเรา ลองสำรวจตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้
1. มีรายจ่ายที่เป็น fixed cost เท่าไหร่ ?
แต่ละคนมีภาระค่าใช้จ่ายต่างกัน fixed cost ในทีนี้อาจหมายถึง ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าประกัน ฯลฯ ที่เราต้องจ่ายประจำทุกเดือน สำรวจบัญชีแล้วจดมาให้หมดว่าเราต้องจ่ายค่าอะไรบ้างเท่าไหร่ต่อเดือน คิดเป็นงบเท่าไหร่ต่อปี
2. รายรับ - รายจ่าย เป็นอย่างไร ?
การทำรายรับ-รายจ่ายจริง ๆ แล้วก็เหมือนด่านแรกที่ต้องฝ่าให้ได้ในการวางแผนการเงิน เพราะการที่เราจะมีวินัยมาจดจำนวนเงินเข้าออกในบัญชี ก็เป็นเรื่องที่ใช้ความพยายามอยู่เหมือนกัน แต่ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้
ปัจจุมีแอปพลิเคชั่นหลากหลายที่สามารถใช้ track รายจ่ายได้ หรือแม้กระทั่งในแอพลิเคชั่นธนาคารก็มีฟีเจอร์ให้เราดูว่าเราจ่ายค่าอะไรไปแล้วบ้างเช่นกัน ลองทำรายรับรายจ่ายแล้วประเมิณเงินออกมา
3. จะวางแผนการเงินไปเพื่ออะไร ?
คำถามนี้สำคัญเพราะจะเป็นตัวกำหนดว่าอะไรสำคัญสำหรับเรา และควรจัดอยู่ในขั้นไหน สมมุติถ้าเราวางแผนทางการเงินเพราะมีเป้าหมายที่จะผ่อนรถ อยากได้เงินเร็วหน่อยเลยวางแผนลงทุนระยะสั้น ลำดับขั้นการลงทุนเราอาจจะอยู่ในขั้นต้น ๆ เพราะเป็นเรื่องสำคัญมาก หรือถ้าเราอยากมีเงินเกษียณ อันนี้ขั้นการออมอาจจะอยู่ต้น ๆ วางแผนลงทุนระยะยาวก็ได้อีกเหมือนกัน
4. อยากจะมีเงินเพิ่มอีกเดือนละเท่าไหร่ ?
ข้อนี้จะทำให้รู้ว่าควรลงทุนอะไรเพื่อสร้างเงินตามจำนวนที่อยากได้ เช่น บางคนเลือกลงทุนหุ้นกู้ CFD เพราะหวังผลตอบแทนระยะสั้น อยากได้เงินเป็น cash-flow สม่ำเสมอ หรือบางคนอาจลงทุนใน bitcoin หรือหุ้นเพราะ อยากได้ผลตอบแทนมากกว่า และรับได้กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น
ข้อดีของคำถามนี้คือ เมื่อคุณตั้งเป้าถูก วิธีการไปสู้เป้าหมายวางผังพีระมิดก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นเช่นกัน
ส่วนประกอบ หรือ ฐานของ “สามเหลี่ยมทางการเงิน”
อันนี้เป็นกรณีที่ PeerPower ลองจำลองสถานการณ์มา สมมุติว่า "คุณเพียร์เป็นคนวัยทำงาน มีเงินเก็บและเงินลงทุนอยู่บ้าง อาคตอยากมีเงินอยู่บ้านสบาย ๆ แต่มีหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องการปิด"
หน้าตาสามเหลี่ยมทางการเงินของคุณเพียร์ อาจจะเป็นประมาณนี้
ขั้นที่ 1
ขั้นแรกคือการจัดการความเสี่ยง เร่งปิดหนี้ที่จะพอกพูนขึ้นในอนาคต เพราะพวกนี้ยิ่งปล่อยไว้นานดอกเบี้ยจะยิ่งทบสูง
ขั้นที่ 2
ขั้นต่อมาจะเป็นการบริหารรายจ่าย-รายรับ จำเป็นต้องบันทึกเงินที่ออกจากบัญชีอย่างละเอียด อาจมีรายจ่ายไม่จำเป็นงอกเงยออกมา อันนี้เราจำเป็นต้องรู้
ขั้นที่ 3 - 5
ขั้นควรจะเป็นการสร้างและสะสมความมั่งคั่ง ดังนั้นจึงควรเป็นเงินออม เงินสะสมดอกเบี้ยทบต้น เงินลงทุนต่าง ๆ พวกนี้แบ่งและสลับได้ตามความเสี่ยงที่รับไหว
- สมมุติคุณรับความเสี่ยงได้มาก --> อนุพันธ์ หุ้นสามัญ กองทุนรวม ฯลฯ
- สมมุติรับความเสี่ยงได้ปานกลาง --> หุ้นกู้ หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ฯลฯ
- สมมุติรับความเสี่ยงได้น้อย --> ตราสารหนี้รัฐบาล เงินฝากประจำ ประกันชีวิต ฯลฯ
แต่ละประเภทให้ผลตอบแทนต่างกัน เราเคยเขียนนี้เรื่องนี้แบบละเอียดด้วยไปอ่านได้ หรือถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าอายุเท่าไหร่ จะวางแผนลงทุนยังไง เราทำบล็อกการลงทุนสำหรับคนแต่ละเจนเหมือนกัน ไปอ่านบล็อกนี้
ขั้นที่ 6
ความสำคัญของขั้นนี้คือการเป็นเป้าหมายเพื่อให้เราวางแผนเพื่อพิชิต เป็นเงินส่วนตัวเพื่อลำดับท้ายสุดเพื่อเป้าหมายอื่น ๆ บางคนอยากส่งต่อเงินมรดก หรือเอาไปลงทุนต่อก็ทำได้ หรือจะใช้จ่ายจุกจิกก็ทำได้เหมือนกัน
ขอย้ำอีกทีว่า ทั้งนี้สามเหลี่ยมทางการเงินของใครจะเป็นแบบไหนก็ได้ ตราบใดที่เราบรรลุเป้าหมาย วิธีการเก็บเงินหรือลงทุนจะจัดการยังไงก็เป็นวิธีที่แต่ละคนต้องลองพลิกแพลง
สนใจลงทุนระยาว หรือ กระจายความเสี่ยงด้วยหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง คลิกที่นี่
คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว