เศรษฐกิจถดถอย Recession ลงทุนอะไรดี? แนวทางการลงทุนปี 2567
ในงาน PeerPower Community Meet Up ครั้งล่าสุด เราได้รับเกียรติจาก คุณวรุตม์ พรหมบุญ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินเครดิตและการลงทุนจาก Bondcritic มาร่วมพูดคุยกับแลกเปลี่ยนความเห็นกับนักลงทุนในคอมมิวนิตี้ของเรา
ในการพูดคุยร่วมชั่วโมงหลายประเด็นได้ถูกหยิบยกขึ้นมา ทั้งเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก เงินเฟ้อ และแน่นอนว่าหนีไม่พ้นเรื่องการลงทุนรับมือเศรษฐกิจถดถอยที่หลายคนก็อยากรู้ว่าควรรับมือยังไง เทคนิคจะมีอะไรบ้าง เลื่อนอ่านข้างล่างได้เลย
* หมายเหตุ สิ่งนี้เป็นเพียงการคาดการณ์ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลความเสี่ยงทุกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน
เงินเฟ้อ ตลาดหุ้น และการลงทุนในปีที่ผ่านมา
เมื่อครั้งที่แล้วเคยคุยกันไว้ว่า
เงินจะเฟ้อ ของจะแพง และจะมีบริษัทยื่นล้มละลาย
ซึ่งทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นตามที่คาดการณ์
สาเหตุของเหตุการณ์เหล่านี้เกิดจากการขึ้นดอกเบี้ยติดกันหลายครั้งโดย Fed อัตราดอกเบี้ยขึ้นจาก 0.5% เป็น 5% ในปีเดียว ส่งผลให้ธนาคารอื่นทั่วโลกต้องขึ้นดอกเบี้ยในประเทศตัวเองตามเพื่อรักษาสมดุล
ผลที่เกิดขึ้นคือภาระค่าใช้จ่ายไปกองอยู่กับผู้บริโภค หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง และเมื่อดอกเบี้ยแพงขึ้นก็ต้องมีคนจ่ายไม่ไหว บริษัทใหญ่ก็ทยอยล้มตาม ๆ กัน เช่น ในจีนที่บริษัทอสังหาฯ เจ้าใหญ่ 2 เจ้า คือ Evergrand และ Country Garden ต้องล้มละลายแบบที่ไม่รู้ว่าจะลุกได้เมื่อไหร่
ปีที่แล้วกลยุทธ์การลงทุนของหลายคนจึงเป็นการ "ลงทุนสะสมดอกเบี้ย" กระจายความเสี่ยงไปฝากเงินต่างประเทศ ซื้อประกันชีวิตหรือหุ้นกู้บางประเภท ไปจนถึงลง Credit Default Swap (CDS) ซึ่งก็มีคนทำกำไรได้เหมือนกัน
ความกังวลของนักลงทุนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอย
นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสที่เศรษฐกิจถดถอยอาจเกิดขึ้นได้ถ้าพิจารณาจาก กราฟ 2-10 Spread
2-10 Spread คือ กราฟเทียบอัตราผลตอบแทนระหว่างพันธบัตร 2 ปี กับ 10 ปี เป็นเครื่องมือหนึ่งที่นักลงทุนใช้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ
ถ้ากราฟเป็นบวก หมายถึง ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี มีค่ามากกว่าพันธบัตรอายุ 2 ปี แสดงว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดี คนกล้าเอาเงินออกมาลงทุน สิ่งนี้ส่งผลให้เศรษฐกิจโต
แต่ถ้ากราฟเป็นลบ หมายถึง ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี มีค่าน้อยกว่าพันธบัตรอายุ 2 ปี แสดงว่าคนยังไม่วางใจ อยากออมเงินมากกว่าเอาเงินมาลงทุน สิ่งนี้ทำให้เศรษฐกิจไม่โต
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบล็อก 2-10 Spread คืออะไร? มีวิธีอ่านยังไง คลิก)
อ้างอิงจากรูปข้างบนจะเห็นว่ากราฟเป็นลบ ปัจจุบันอยู่ที่ -0.3 แสดงว่าปัจจุบันเศรษฐกิจยังถดถอย แม้ตอนนี้เราจะเห็นเส้นกราฟค่อย ๆ ไต่ขึ้น แต่ยังเรียกว่าคลี่คลายไม่ได้
แน่นอนว่า Fed ประกาศหยุดขึ้นดอกเบี้ย แต่ Fed เองก็บอกอีกเหมือนกันว่า "ถ้าพิจารณาสถานการณ์แล้วเห็นว่าควรขึ้นดอกเบี้ย ก็อาจจะต้องขึ้นต่อ"
เศรษฐกิจถดถอยลงทุนอะไรดี?
ในตอนนี้เศรษฐกิจไทยอยู่ในขั้น Stagflation และกำลังจะไปต่อในขั้น Recession
ในช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย แม้ดอกเบี้ยจะปรับตัวลดลงแต่อัตราเงินเฟ้อยังพุ่งสูงอยู่ นักลงทุนควรพิจารณากระจายความเสี่ยงมาลงทุนหุ้นกู้ที่ให้ดอกเบี้ยคงที่เพื่อเตรียมรับมือตลาดหุ้นในช่วงขาลง และบาลานซ์ผลตอบแทนในพอร์ต
แต่ทั้งนี้ก็อาจพิจารณาลงทุนในหุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค การแพทย์ ควบคู่ได้ถ้ารับความเสี่ยงไหว
ควรลงทุนคราวด์ฟันดิงช่วงเศรษฐกิจถดถอยหรือไม่?
จุดแข็งที่สุดของคราวด์ฟันดิงคือการเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่ให้ดอกเบี้ยคงที่ (Fix Rate) ไม่กระทบตามทิศทางเศรษฐกิจที่ผันผวน ดังนั้นไม่ว่าดอกเบี้ยจะเพิ่ม จะลด หรือเปลี่ยนไปยังไงก็ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
แต่ทั้งนี้นักลงทุนต้องพิจารณาความเสี่ยงที่ีรับได้ควบคู่ไปกับพอร์ตการลงทุนของตัวเองเพื่อหาโอกาสทำกำไรเช่นกัน
ความเห็นเพิ่มเติมจากงาน Community Meet Up
แนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจปี 2567 ในไทยยังไม่น่าวางใจ
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้
- ดอกเบี้ยปรับตัวลดลงแต่ไม่ถึงกับดี
- ถ้ารับความเสี่ยงได้ก็อาจพิจารณาลงทุนหุ้นกู้เกรด A-
- การลงทุนใน Emerging Market ยังมีโอกาส เช่น อินโดนีเซียและอินเดีย
สิ่งที่ต้องระวัง
- เศรษฐกิจถดถอยอาจไม่รุนแรง แต่อย่าวางใจ
- สงครามระหว่างประเทศต่าง ๆ จะไม่จบลงโดยง่าย
- การเมืองในอเมริกาที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้เกิดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจต่อไทย
- มีความเสี่ยงด้านเครดิตที่อาจเกิดขึ้น อาจมีบริษัทล้มละลาย ควรสำรวจพอร์ตในมือ
- แม้ดอกเบี้ยจะลดลงแต่ภาคการเงินอาจไม่ปล่อยสินเชื่อ การกู้เงินจะทำได้ยากขึ้น
- หนี้ครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นในไทยและจีน
คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่าน เพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว