The Basics

นักลงทุนมีกี่ประเภท? เข้าใจประเภทนักลงทุนตามนิยาม

by
PeerPower Team
July 14, 2023

นักลงทุนมีกี่ประเภท? เข้าใจประเภทนักลงทุนตามนิยาม

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้เปลี่ยนและจัดนิยามประเภท “นักลงทุนใหม่” เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลและนิติบุคคลเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย และสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ระดมทุนจากแหล่งทุนที่หลากหลายมากขึ้น

ซึ่งตามนิยามใหม่นี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ได้จัดนักลงทุนไว้ 4 ประเภท มีกฎเกณฑ์เปลี่ยนหลายข้อ แต่โดยหลัก ๆ แล้วคือการขยายโอกาสให้นักลงทุน บล็อกนี้เราจะพามาดูกันว่า นิยามใหม่ของนักลงทุนมีอะไรเปลี่ยนไปบบ้าง และแต่ละประเภทมีคุณสมบัติต่างกันยังไง

ทำไมต้องแบ่งประเภทนักลงทุน ?

โลกนี้มีสินทรัพย์หลากหลาย แต่ละอย่างมีลักษณะ-ความเสี่ยงต่างกัน และโลกนี้ก็มีนักลงทุนหลากหลาย แต่ละคนมีประสบการณ์-ความเชี่ยวชาญต่างกัน 

ดังนั้นการแบ่งประเภทนักลงทุนจึงเกิดขึ้นเพื่อจำกัดความเสี่ยง และดูแลให้นักลงทุนลงทุนตามศักยภาพที่มีอย่างเหมาะสม เพราะถ้าสุดท้ายลงทุนเกินกำลัง ความเสียหายก็อาจเกิดขึ้นได้ 

ตามนิยามแล้วนักลงทุนมีกี่ประเภท?

หากอ้างอิงตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. ผู้ลงทุนเหล่านี้ถูกจัดไว้ 4 ประเภท แบ่งด้วยเกณฑ์ความเชี่ยวชาญและสินทรัพย์ที่มี คือ 

1. ผู้ลงทุนรายย่อย (Retail Investor) 

อันนี้คือระดับพื้นฐานสุดสำหรับนักลงทุนมือใหม่ โดยทั่วไปนักลงทุนกลุ่มนี้จะมีอิสระในการลงทุนค่อนข้างสูงสามารถลงทุนโดยตรงในสินทรัพย์พื้นฐานหลายประเภท 

สินทรัพย์ที่ลงทุนได้: หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง หุ้นกู้อนุพันธ์คุ้มครองเงินต้น และกองทุนบางประเภท 

กรณีลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง: ลงทุนได้จำกัดที่ 100,000 บาทต่อหุ้นกู้

รวมทั้งสิ้น 1 ล้านบาทต่อปี ต่อแพลตฟอร์ม 

ฐานะการเงิน: ไม่มีเกณฑ์กำหนดชัด ใครมีสินทรัพย์เริ่มต้นเท่าไหร่ก็สามารถลงทุนได้ แต่ควรจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงด้วยเช่นกัน 

ผู้ลงทุนรายย่อย คือ

2. ผู้ลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth Investor)

กลุ่มนี้จะเรียกย่อ ๆ ว่า HNW เป็นประเภทที่ advance มาจากผู้ลงทุนรายย่อยมา 1 ระดับ คือมีสินทรัพย์มากกว่าและค่อนข้างมีประสบการณ์ลงทุน ในเงื่อนไขของสำนักงาน ก.ล.ต กำหนดว่านักลงทุนกลุ่มนี้ต้องมีวุฒิบัตรรับรองความสามารถจากหลักสูตร CFA, CISA, CAIA และ CFP (อย่างใดอย่างหนึ่ง)

สินทรัพย์ที่ลงทุนได้: หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง หุ้นกู้ที่ไม่ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ กองทุน AI Fund ฯลฯ

กรณีลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง: ลงทุนได้ไม่จำกัด 

ฐานะการเงิน: กรณีบุคคลทั่วไป ต้องเข้าเกณฑ์อย่างน้อย 1 ข้อ  

ผู้ลงทุนรายใหญ่ คือ

3. ผู้ลงทุนสถาบัน (Institutional Investor)

เป็นนักลงทุนระดับโปรหรือนักลงทุนอาชีพ (professional investor) ทำงานเกี่ยวข้องกับการเงิน และมีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 3 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นนิติบุคคล เช่น ธนาคาร กองทุนรวม ฯลฯ สามารถแบ่งย่อยได้อีกเป็น 

  1. ผู้ลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น  Angel Investor ที่เชี่ยวชาญในธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือ คนคุ้นเคยของกิจการ เช่น บริษัทในเครือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ กรรมการบริหาร ฯลฯ 
  2. ผู้ลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ เช่น Venture Capital หรือ Private Equity 

สินทรัพย์ที่ลงทุนได้: ทุกประเภทไม่จำกัด

กรณีลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง: ลงทุนได้ไม่จำกัด

ฐานะการเงิน: กรณี angel investor ต้องเข้าเกณฑ์อย่างน้อย 1 ข้อ  

ผู้ลงทุนสถาบัน คุณสมบัติ angel investor

4. ผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra High Net Worth Investor )

เรียกย่อ ๆ ว่า UHNW มีความสามารถเหมือน HNW ทุกอย่าง คือมีประสบการณ์ลงทุน และมีวุฒิบัตรรับรองความสามารถ จะแตกต่างข้อเดียวคือมีสินทรัพย์มากกว่า 

สินทรัพย์ที่ลงทุนได้: หุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้คราวด์ฟันดิง หุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีเรทติ้ง กองทุน UI Fund และ PE Trust 

กรณีลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง: ลงทุนได้ไม่จำกัด 

ฐานะการเงิน: กรณีบุคคลทั่วไปต้องเข้าเกณฑ์อย่างน้อย 1 ข้อ  

ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า หากเป็นนักลงทุนรายย่อยจะไม่สามารถอัพเกรดเป็นนักลงทุนรายใหญ่ได้ ถ้าวันไหนเรามีคุณสมบัติถึงก็สามารถยื่นเอกสารเพื่อรับการประเมินและปรับสถานะลงทุนได้เหมือนกัน

สำหรับนักลงทุนของ PeerPower ถ้าใครอยากอัพเกรดสถานะนักลงทุน ลองอ่านเกณฑ์ละเอียดได้ที่นี่ (คลิก)

การเปลี่ยนนิยามนักลงทุนส่งผลอะไรบ้าง?

ตามหลักแล้วนโยบายนี้ออกมาเพื่อกระตุ้มภาคการลงทุนและเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจะเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ

1. นักลงทุน

สามารลงทุนได้มากขึ้น เพราะการเปลี่ยนนิยามครั้งสำนักงาน ก.ล.ต. เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย และลดเพดานสินทรัพย์ลง

2. ผู้ประกอบการ

สามารถรับเงินระดมทุนได้มากขึ้น ก่อนหน้านี้กรณีของการระดมทุนหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ผู้ประกอบการจะสามารถรับเงินจากนักลงทุนรายย่อยได้ไม่เกิน 20 ล้านบาทในปีแรก แต่ตอนนี้ผู้ประกอบการจะสามารถรับเงินได้มากถึง 50 ล้านบาทตั้งแต่ปีแรก โอกาสที่ธุรกิจจะเติบโตก็มีมากตาม

คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว

Tags
Author
PeerPower Team

สู่เป้าหมายทางการเงินที่ไกลขึ้น

ลงทุนและระดมทุนเพื่อธุรกิจผ่านคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower
สมัคร