Yield to Maturity (YTM) คือ ค่าสำคัญที่นักลงทุนจะใช้ในการพิจารณาความคุ้มค่าของผลตอบแทนจากหุ้นกู้ (Bond) ว่ามีผลตอบแทนดีและควรถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอนหรือไม่ ซึ่ง Yield to Maturity (YTM) ที่นักลงทุนควรทราบคือ
Yield to Maturity (YTM) คือ ช่วงผลตอบแทนที่ได้จากหุ้นกู้
Yield to Maturity (YTM) อาจจะเป็นได้ทั้งผลตอบแทนทางบัญชี (Book Yield) และผลตอบแทนจากการไถ่ถอน (Redemption Yield)
Yield to Maturity (YTM) ของหุ้นกู้มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจว่าจะ Put หุ้นกู้ตัวนั้นเพื่อลงทุนกับหุ้นกู้ออกใหม่ดีหรือไม่
การคำนวณผลตอบแทนที่ได้จาก YTM เป็นเรื่องค่อนข้างซับซ้อนเพราะจะต้องคำนวณจากราคาซื้อด้วย จึงมีโปรแกรมคำนวณผลตอบแทนYield to Maturity (YTM) จากหุ้นกู้ออกมาให้ใช้ในต่างประเทศ
Yield to Maturity บอกคุณได้ว่าหุ้นกู้ตัวไหนควรไปต่อหรือพอแค่นี้
เพียร์ พาวเวอร์เคยพูดถึงหุ้นกู้ในแง่การลงทุนไปแล้ว ซึ่งในแต่ละปีจะมีหุ้นกู้ออกใหม่เป็นจำนวนมาก และให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน สำหรับนักลงทุน หุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าย่อมน่าลงทุนมากกว่า แต่หลายคนอาจจะยังมีข้อสงสัยว่า แล้วความคุ้มค่าของหุ้นกู้ดูได้จากอะไร คำตอบคือ ดูได้จากผลตอบแทนรวม Yield to Maturity (YTM)
Yield to Maturity (YTM) คือ อะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับหุ้นกู้
หุ้นกู้ คือ การลงทุนซื้อเอกสารหรือสัญญาเงินกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน ที่มีการระบุระยะเวลาในการไถ่ถอนคืนพร้อมอัตราผลตอบแทนไว้อย่างชัดเจน เป็นได้ทั้งระยะสั้นๆ ไม่กี่เดือน ไปจนถึงระยะยาวหลายปี ซึ่งหุ้นกู้จะมีการกำหนดผลตอบแทนรายปีแบบสม่ำเสมอไว้ตั้งแต่แรก แต่ถ้านักลงทุนถือหุ้นกู้ไว้ระยะหนึ่งแล้ว พบหุ้นกู้ตัวอื่นที่น่าสนใจ อยากจะลงทุนใหม่ (Reinvestment) สิ่งที่จะต้องใช้ประกอบการตัดสินใจไม่ใช่ราคาซื้อขายหรืออัตราดอกเบี้ยอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็นช่วงการให้ผลตอบแทนรวมจากปัจจุบัน จนถึงกำหนดไถ่ถอน หรือ Yield to Maturity (YTM) นั่นเอง
Yield to Maturity (YTM) บอกผลตอบแทนจากหุ้นกู้อย่างไร
การจะเข้าใจผลตอบแทนของหุ้นกู้ สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือเงื่อนไขด้านราคา ดอกเบี้ย และระยะเวลาในการให้ผลตอบแทน
ราคาซื้อขายหุ้นกู้
หุ้นกู้มีราคา 4 แบบ ที่ส่งผลต่อเงื่อนไขในการคำนวณค่าตอบแทนคือ
1. ราคาหน้าตั๋ว (Face Value) เป็นราคาซื้อขายที่ระบุไว้บนตั๋วหุ้นกู้นั้นในตลาดแรกหรือที่รู้จักกันว่าเป็นราคารพาร์ ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ออกหุ้นกู้จะไถ่ถอนคืนเมื่อครบกำหนด
2. ราคาลด (Discount Bond) หุ้นกู้ที่ราคาซื้อต่ำกว่าราคาที่ระบุไว้หน้าตั๋ว แต่ไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดด้วยราคาที่ระบุไว้บนตั๋ว ได้ผลตอบแทน (Coupon) ตามที่กำหนดไว้หน้าตั๋ว
3. ราคาเพิ่ม (Premium Bond) หุ้นกู้ที่ราคาซื้อสูงกว่าราคาที่ระบุไว้หน้าตั๋ว แต่ไถ่ถอนเมื่อครบกำหนดด้วยราคาที่ระบุไว้บนตั๋ว ได้ผลตอบแทน (Coupon) ตามที่กำหนดไว้หน้าตั๋ว
4. ราคาปัจจุบัน (Current Price) หุ้นกู้มีการซื้อขายทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง ราคาปัจจุบันจะส่งผลต่อผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อถือครบกำหนดไถ่ถอน
ดอกเบี้ย (Coupon)
อัตราผลตอบแทนที่จะได้รับจากการถือหุ้นกู้ ซึ่งจะกำหนดตายตัวจากผู้ออกหุ้นกู้ และสัมพันธ์กับระยะเวลาในการถือครอง โดยดอกเบี้ยจะคิดตามราคาหน้าตั๋ว หรือราคาพาร์เสมอ เช่นเป็นหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทน 15% ระยะเวลาการถือครอง 3 ปี เท่ากับจะให้ผลตอบแทนปีละ 5% แต่หุ้นกู้ส่วนใหญ่จะปันผลทุก 6 เดือน ดังนั้นผู้ถือหุ้นกู้ตัวที่ยกตัวอย่างมาจะได้รับกระแสเงินสดเป็นผลตอบแทนจากหุ้นกู้ 2.5% ทุกครึ่งปี
ระยะเวลาให้ผลตอบแทน
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าหุ้นกู้มีการระบุระยะเวลาการไถ่ถอนไว้อย่างชัดเจน ในการเปรียบเทียบ YTM จึงให้ความสำคัญกับหุ้นกู้ที่มีระยะเวลาในการถือครองช่วงเดียวกัน
Yield to Maturity (YTM) คำนวณอย่างไร
เราสามารถคำนวณ YTM ได้จากสมการด้านล่างนี้
N = จำนวนปีที่ถือ
Face Value = ราคาพาร์ หรือราคาหน้าตั๋ว
Current Price = ราคาปัจจุบัน
แต่ในการซื้อขายหุ้นกู้จริงๆ แล้วเราไม่ได้ซื้อขายกันที่ราคาพาร์เสมอไป นักลงทุนมีโอกาสได้หุ้นกู้ที่ราคาต่ำกว่าราคาพาร์ หรือสูงกว่าราคาพาร์ก็ได้ และความคุ้มค่านอกจากผลตอบแทนจนครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว ยังต้องมองความคุ้มค่าจากผลตอบแทนที่ได้รับจากในปัจจุบันด้วย
ถ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ สมมติราคาพาร์ระบุไว้ว่า 100 บาท แต่หุ้นกู้ที่นักลงทุนซื้อมาตัวนี้ เป็นหุ้นกู้ที่ราคาต่ำกว่าราคาพาร์ เช่นที่ 98 บาท ผลตอบแทนที่ได้รับย่อมไม่ใช่ผลตอบแทนจากการลงทุน 100 บาท แต่เป็นการลงทุนที่ 98 บาท ซึ่งน้อยกว่าแต่ได้ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยที่เท่ากับลงทุน 100 บาท ซึ่งการคำนวณด้วยมือจากสมการดังกล่าวมีความละเอียดและซับซ้อนมาก ดังนั้นเพียร์ พาวเวอร์จึงแนะนำว่า ใช้โปรแกรมคำนวณ Yield to Maturity แบบสำเร็จ ในการคำนวณจะง่ายกว่า
Yield to Maturity แบบไหนที่ควรไปต่อ
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าค่า Yield to Maturityเป็นข้อบ่งชี้สำคัญที่จะทำให้นักลงทุนตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าหุ้นกู้ที่ถืออยู่ เป็นหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนเป็นกระแสเงินสดที่คุ้มค่า มากกว่าตัวอื่นในตลาดหรือไม่หากต้องการลงทุนใหม่ (Reinvestment) ผลตอบแทนควรจะมากกว่าในระดับที่น่าพึงพอใจ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการลงทุนของนักลงทุนแต่ละคนด้วย
Yield to Maturity ที่ไปต่อไม่ได้มีลักษณะอย่างไร
ค่า Yield to Maturity นอกจากจะมีความสำคัญต่อการตัดสินใจในการถือต่อไปแล้ว ยังส่งผลต่อการเลิกถือหรือขายเพื่อลงทุนใหม่อีกด้วย ค่าช่วงผลตอบแทน (Yield) ที่ไม่ควรไปต่อมีด้วยกัน 3 แบบคือ
1. ค่าผลตอบแทนจากการเรียกคืนหรือไถ่ถอนก่อนกำหนด (Yield to Call)
ค่าผลตอบแทนที่เราจะได้รับเมื่อมีการเรียกคืน (Call) จากผู้ออกหุ้นกู้ ที่ต้องการไถ่ถอนตราสารก่อนกำหนด อาจจะเพื่อออกตราสารใหม่ หรือบริษัทเกิดปัญหาจนไม่สามารถดำเนินกิจการไปถึงวันไถ่ถอนได้ กรณีนี้ แม้ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้อยากขายหุ้นกู้ แต่หุ้นกู้ดังกล่าวก็ไม่สามารถไปต่อได้ด้วยตัวมันเอง
2. ค่าผลตอบแทนที่ควรจะปล่อยหุ้นกู้นั้นไป (Yield to Put)
คือช่วง Yield ที่คำนวณแล้วพบว่าให้ผลตอบแทนน้อยกว่าหุ้นกู้ตัวอื่นในตลาด อาจเป็นด้วยการปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารที่ทำให้สินทรัพย์ในการลงทุนตัวอื่นในตลาดให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า การถือหุ้นกู้ตัวดังกล่าวต่อไปจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนจะทำให้เสียโอกาสในการลงทุน จึงต้องวาง (Put) หุ้นกู้ตัวนั้นลง
3. ค่าผลตอบแทนเมื่อต้องทิ้ง (Yield To Worst)
นักลงทุนส่วนมาก มักกระจายความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการลงทุนในสินทรัพย์หลาย ๆ ประเภท ประเภทละหลาย ๆ บริษัทหรือหลาย ๆ ตัวเลือก ดังนั้นเมื่อมีหุ้นกู้ที่ต้องเลือกว่าจะขายตัวไหนดี คือเป็นทั้ง Put และ Call อยู่ในมือ และต้องเลือกทิ้งตัวใดตัวหนึ่ง จึงมีการใช้ค่า Yield ในการเปรียบเทียบเพื่อเก็บหุ้นกู้ที่ดีกว่าไว้
Yield to Maturity มีประโยชน์อย่างไรต่อนักลงทุน
การทราบผลตอบแทนโดยรวมของหุ้นกู้แต่ละตัว จะช่วยให้นักลงทุนสามารถวางแผนการลงทุนกับหุ้นกู้ที่ให้ความคุ้มค่ามากที่สุด เช่นต้องการกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน XX บาท/ปี หุ้นกู้ตัวใดบ้างที่สามารถตอบโจทย์ข้อนี้ได้ หรือกรณีที่ต้องการลงทุนเพิ่ม จะลงทุนกับหุ้นกู้ตัวใดที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดในระยะเวลาการลงทุนที่เท่ากันอย่างไรก็ตามค่า Yield to Maturity เป็นช่วงผลตอบแทนที่เทียบได้สำหรับหุ้นกู้ที่มีระยะเวลาถืออยู่ในช่วงเวลาปัจจุบัน ที่รู้ราคาหุ้นในตลาด ซึ่งหากอัตราผลตอบแทนในตลาดมีความเปลี่ยนแปลงเช่น ดอกเบี้ยปรับลดลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน Yield to Maturity ก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน เหมือนประโยคคลาสสิคที่บอกว่า “ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาก่อนลงทุน” ซึ่งถ้าต้องการลงทุนในรูปแบบใหม่ๆ จะลงทุนกับเพียร์ พาวเวอร์ก็ได้เช่นกัน
______________________________________________________________________________________
คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว