คุณจะเป็นผู้นำแนวไหนใน 4 Leadership Styles
ภาวะผู้นำเป็นสิ่งจำเป็นในโลกของการบริหารธุรกิจ คนในองค์กรจะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพหากหัวหน้าองค์กรบริหารคนเก่ง มีความเป็นแบบอย่าง และมีวิสัยทัศน์ ความสำคัญดังกล่าวทำให้คนจำนวนมากพยายามศึกษาและจัดหมวดหมู่ลักษณะความเป็นหัวหน้าออกมาหลากหลายรูปแบบมากครับในวันนี้ทางเพียร์ พาวเวอร์จะพาเราไปทำความรู้จักกับหัวหน้าในแต่ละสไตล์ ซึ่งถ้าเรารู้จักแนวทางการบริหารคนของตัวเอง เราจะสามารถขัดเกลาจุดเด่นและลบจุดอ่อนของตนได้ง่ายยิ่งขึ้นไปอีกMark Murphy นักธุรกิจและนักเขียนหนังสือแนวทางการบริหารองค์กรได้ศึกษาลักษณะของหัวหน้าที่แตกต่างกันไป เขาแบ่งหมวดหมู่หลัก (Leadership Styles) ออกเป็น 4 ประเภท ก่อนที่จะไปอ่านรายละเอียดลองมาตอบคำถามทั้งหมด 5 ข้อเพื่อหาว่าเรามีแนวโน้มจะเป็นหัวหน้าแนวไหนกันดีกว่าครับ
1.ข้อไหนบ่งบอกถึงตัวคุณได้ดีที่สุด
A. คุณมีมาตรฐานสูงและคาดหวังว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามมาตรฐานเหล่านั้น
B. คุณต้องการเรียนรู้และเติบโตและต้องการให้คนอื่น ๆ ทำเช่นเดียวกัน
C. คุณให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์กระบวนการและความร่วมมือ
D. คุณให้ความสำคัญของความสามัคคีของทุกคน
----------------------------------------------------------------------------------------
2.คุณมักพูดว่าอะไร
A. ทำตามที่ฉันบอก
B. ผลประโยชน์ส่วนรวมต้องมาก่อน
C. มีอะไรให้ช่วยไหม
D. คุณคิดว่าไง
----------------------------------------------------------------------------------------
3.อะไรที่ทำให้คุณพึงพอใจ
A. เมื่อโครงการใหญ่ประสบความสำเร็จ
B. เมื่อฉันเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่พร้อมนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ
C. ช่วยให้ใครบางคนก้าวข้ามอุปสรรคไปได้
D. เมื่อสิ่งต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างราบรื่น
----------------------------------------------------------------------------------------
4.เวลาทำงานคุณตัดสินใจอย่างไร
A. คุณตัดสินใจด้วยตัวเอง
B. คุณฝึกลูกทีมจนเชื่อมั่นให้พวกเขาตัดสินใจได้ในบางเรื่อง
C. คุณชี้ให้ทุกคนเห็นด้วยกับคุณก่อนถึงค่อยตัดสินใจ
D. คุณปรึกษาลูกทีม เพื่อไตร่ตรองความคิดเห็นของทุกคนให้ดีก่อน
----------------------------------------------------------------------------------------
5.คุณรับมือกับความผิดพลาดของพนักงานอย่างไร
A. วิจารณ์พนักงานเพื่อให้เห็นว่าเกิดผลกระทบในแง่ลบยังไงบ้าง
B. ให้คำแนะนำเพื่อให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดอีก
C. มอบโอกาสให้พนักงานได้แก้ตัวในโอกาสหน้า
D. เฝ้าดูให้พนักงานได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
เมื่อตอบคำถามเสร็จทุกข้อ ให้เราลองดูว่าเราตอบช้อยส์ตัวอักษรไหนบ่อยที่สุด (A,B,C,D) จากนั้นก็เอามาเทียบกับหมวดหมู่ด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียด ถ้าเข้าใจแล้วก็มาหากันเลยดีกว่าว่าเราเป็นผู้นำแบบไหนกันครับ
A. นักปฏิบัติ (The Pragmatist)
"นักปฏิบัติเป็นกลุ่มที่มีแรงผลักดัน รักการแข่งขันและให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายเหนือสิ่งอื่นใด"
นักปฏิบัติเป็นหัวหน้าที่ตั้งมาตรฐานการทำงานทั้งของตัวเองและลูกทีมไว้สูง การบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้คือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขา การก้าวข้ามอุปสรรคก็เลยกลายเป็นเหมือนความสุขของเขาโดยปริยาย ทำให้พวกเขาทำทุกวิถีทางเพื่อเดินหน้าไปยังเป้าหมาย อาจจะมีการกดดันให้มีบรรยากาศการแข่งขันในที่ทำงานเพื่อให้ลูกทีมตื่นตัวมากขึ้น นักปฏิบัติมักจะเป็นคนกล้าคิดกล้าทำ พวกเขาพร้อมกระโจนลงบนเส้นทางแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีใครเลือกมาก่อนแม้ว่ามันจะเสี่ยงแค่ไหนก็ตามการทำงานโดยมีนักปฏิบัติเป็นหัวหน้าอาจจะท้าทายลูกทีม แต่ผลตอบแทนสำหรับลูกทีมคือมีโอกาสเรียนรู้สูง แม้ว่าจะเราอาจจะถูกวิจารณ์บ่อยครั้ง แต่การวิจารณ์ก็จะทำให้เราเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแล้วการเลือกลูกทีมสำหรับหัวหน้านักปฏิบัติจึงต้องเลือกคนที่กระตือรือร้นและมีความสามารถเพื่อให้ได้คนที่ใช่
ข้อดีของนักปฏิบัติ
- บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีแนวทางการปฏิบัติที่ใช้งานได้จริง
ข้อเสียของนักปฏิบัติ
- อาจส่งผลในแง่ลบต่อบรรยากาศการทำงาน
นักปฏิบัติที่เราพบในภาพยนตร์ก็อย่างเช่น Michael Corleone จากภาพยนตร์ไตรภาคแนวมาเฟียสุดคลาสสิกอย่าง The Godfather ไมเคิลต้องสืบทอดตำแหน่งก็อดฟาเธอร์ของแก๊งมาเฟียเชื้อสายอิตาลีต่อจากพ่อของเขา เขาทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาครอบครัวและอาณาจักรใต้ดินของตน ไม่ว่าจะเป็นการลอบฆ่าหัวหน้าคู่แข่ง หรือแม้กระทั่งการสั่งฆ่าพี่น้องตัวเองที่เป็นภัยต่อคนอื่นในครอบครัว จนในท้ายที่สุดแม้แต่คนรอบตัวก็อย่างหวาดกลัวไมเคิลซะเองโดดเด่นจนต้องพูดถึง: Terrence Fletcher ครูสอนดนตรีสายโหดจากภาพยนตร์เรื่อง Whiplash
B. นักอุดมการณ์ (The Idealist)
"นักอุดมคติชอบการเรียนรู้และเติบโตร่วมกับคนในทีม"
นักอุดมการณ์กระตือร้นที่จะเห็นตัวเองและลูกทีมเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา นักอุดมการณ์จะมีอุดมการณ์และความฝันเป็นของตัวเอง อีกทั้งยังให้ความสำคัญความเห็นที่แตกต่างและสร้างสรรค์จากทุกคนทุกคนที่ทำงานร่วมกับนักอุดมการณ์จะมองว่าเขาเป็นคนมีเสน่ห์ดึงดูด ทำให้มีคนจำนวนมากเต็มใจร่วมทำงานกับเขา บรรยากาศการทำงานจะเป็นไปอย่างเท่าเทียมเมื่อทุกเสียงสามารถเสนอไอเดียสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระ ระบบการทำงานยังเป็นไปอย่างยืดหยุ่นไม่ตายตัว นักอุดมการณ์จึงมักเป็นผู้นำที่เหมาะกับทีมที่มีสมาชิกเด่นในด้านงานสร้างสรรค์เป็นอย่างมากครับ
ข้อดีของนักอุดมการณ์
- ทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
- กระตุ้นแรงบันดาลใจให้ทีมได้ดี
ข้อเสียของนักอุดมการณ์
- อาจมองโลกในแง่ดีเกินไป
- ไม่เหมาะกับทีมที่ต้องทำงานกันเป็นระบบ
นักอุดมการณ์ที่จะเป็นตัวอย่างให้เราได้คือศาสตราจารย์ Albus Dumbledore จากหนังดังที่มีหลายภาคอย่าง Harry Potter นั้นเอง ครูใหญ่ของโรงเรียนฮอกวอตซ์เป็นที่พึ่งทางจิตใจให้กับพ่อมดและแม่มดทุกคนในโลกเวทมนตร์ เขาเชื่อมั่นในพวกพ้อง อาจารย์ และนักเรียนทุกคน ดัมเบิลดอร์มีส่วนช่วยให้แฮรี่เติบโตเป็นพ่อมดที่ดีได้ในท้ายที่สุด และตัวเขาเองยังทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมพ่อมดแม่มดด้วยโดดเด่นจนต้องพูดถึง: Master Yoda หัวหน้ากลุ่มเจไดและอาจารย์ที่คอยสอนเจไดรุ่นใหม่ใน Star Wars
C. นักจัดการ (The Steward)
"นักจัดการ มีความน่าเชื่อถือ ซื่อสัตย์และชอบช่วยเหลือ ผู้นำกลุ่มนี้จะมีความใจเย็นและมักทำให้สมาชิกในทีมรู้สึกมั่นคง"
นักจัดการเป็นรากฐานขององค์กรเพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับระบบและขั้นตอนการทำงาน (ไม่เหมือนกับสายอุดมการณ์ซึ่งไม่มีระบบตายตัว) นักจัดการจึงสามารถมอบความมั่นคงให้ลูกทีมทุกคนของเขาได้ พวกเขาจะเชื่อว่าทีมงานจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ก็ต่อเมื่อพวกเขาช่วยทุกคนให้เอาชนะอุปสรรคทีมที่มีหัวหน้าสายจัดการจะเป็นทีมที่มั่นคง และสามารถทำงานไปได้อย่างคงเส้นคงวา ลูกทีมจะเหมือนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบเครื่องจักรชั้นเยี่ยม เพราะฉะนั้นแล้วการทำงานกับคนสายนี้จึงอาจจะไม่ใช่สายงานที่ส่งเสริมความโดดเด่นของปัจเจกแต่จะมุ่งเน้นไปที่ความเป็นปึกแผ่นของทีม หัวหน้าสายจัดการมักจะได้รับมอบหมายให้เป็นจุดศูนย์กลางของโปรเจ็กต์เพื่อประสานงานกับทีมของหัวหน้าสายอื่นๆ
ข้อดีของนักจัดการ
- เหมาะกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง
- ใส่ใจปัญหาที่ลูกทีมประสบ
ข้อเสียของนักจัดการ
- ไม่เหมาะกับทีมที่ต้องการแรงกดดัน
Steve Rogers หรือกัปตันอเมริกาจาก Marvel Cinematic Universe เป็นตัวอย่างของหัวหน้าสายจัดการ เดิมทีสตีฟร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สองก่อนที่จะถูกแช่แข็งมาจนถึงยุคปัจจุบัน เขาจึงคุ้นเคยกับการทำงานของทหารที่ต้องเป็นระบบตลอดเวลา เห็นได้จากใน The Avengers ภาคแรกที่เขาจะคอยสั่งการฮีโร่คนอื่นในทีมเพื่อรับมือกับกลุ่มตัวร้ายโดดเด่นจนต้องพูดถึง: Aragorn เจ้าชายผู้สืบสายเลือดกษัตริย์ในภาพยนตร์ไตรภาค The Lord of the Rings
D. นักการทูต (The Diplomat)
"นักการทูตนั้นให้ความสำคัญกับสายสัมพันธ์ระหว่างคนในทีม"
สายสัมพันธ์ระหว่างคนในทีมคือความฝันของนักการทูต พวกเขาทำให้ทุกคนในทีมรวมตัวกันได้ ส่วนใหญ่แล้วหัวหน้าสายการทูตจะใจดีและเข้าหาผู้คน ทำให้พวกเขาสนิทกับคนในทีมมากกว่าหัวหน้าสายอื่น จุดพิเศษที่สุดของสายการทูตคือพวกเขาจะยุติความขัดแย้งลงได้อย่างสงบ อีกทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ตั้งแต่ที่มันยังไม่เกิดเลยทีเดียวการทำงานกับนักการทูตจะมีบรรยากาศผ่อนคลายกว่าสายอื่น (โดยเฉพาะสายนักปฏิบัติ) นักการทูตจะไม่กดดันลูกน้องตัวเอง พวกเขาจะมองหาศักยภาพที่แอบแฝงอยู่ในตัวของลูกทีมและเลือกงานที่จะทำให้ลูกทีมแสดงความสามารถออกมาได้มากที่สุด บรรยากาศการทำงานที่ตึงเครียดจะเป็นสิ่งที่นักการทูตพยายามหลีกเลี่ยง
ข้อดีของนักการทูต
- เคารพทุกคนในทีม
- พร้อมที่จะพูดคุยกับทุกคน
ข้อเสียของนักการทูต
- ไม่ชอบกดดันคนในทีม
- อาจหลีกหนีปัญหาที่จะทำให้คนในทีมไม่สบายใจ
ตัวอย่างของนักการทูตคือ Gandalf พ่อมดขาวจากไตรภาค The Lord of the Rings ในเรื่องแกนดาล์ฟจะเป็นตัวตั้งตัวตีในการก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรแห่งแหวนระหว่างมนุษย์-เอล์ฟ-คนแคระเพื่อต่อสู้กับเซารอน (Sauron) แต่การก่อตั้งพันธมิตรก็ไม่ได้ง่ายเนื่องจากทุกกลุ่มต่างมีความบาดหมางกันมาตั้งแต่สมัยก่อน แกนดาล์ฟอาศัยความสามารถในการพูดของตนเพื่อเจรจาให้ทุกกลุ่มรวมตัวกันได้โดยที่ไม่เข่นฆ่ากัน และเมื่อเป็นหัวหน้าของกลุ่มในภายหลังเขายังแสดงความเอื้อเฟื้อห่วงใยต่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มอีกด้วย
โดดเด่นจนต้องพูดถึง
Professor X หัวหน้ากลุ่มมนุษย์กลายพันธ์ุแสนฉลาดจาก X-Men ภาคต่างๆข้อที่ควรรู้คือเราอาจจะเป็นหัวหน้าแบบสองประเภท ตัวละครที่เพียร์ พาวเวอร์ยกมาก็ใช่ว่าจะเป็นด้านใดด้านหนึ่งไปเลยซะทีเดียว Mark Murphy เองก็บอกว่าหมวดหมู่นี้เป็นเพียงหมวดหมู่ของคนส่วนใหญ่เท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วมีหมวดหมู่ย่อย ๆ อีกมาก
ใครที่สนใจก็ลองไปอ่านหนังสือ Leadership Styles: How to Discover and Leverage Yours กันของเขาได้ครับแล้วคุณเป็นหัวหน้าลักษณะไหนกันบ้างครับ? แต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป บทบาทที่เหมาะสมก็ไม่เหมือนกัน ถ้ารู้ว่าเราอยู่หมวดหมู่ไหนเราจะสามารถพัฒนาตัวเองจากข้อดีและข้อเสียได้อย่างมั่นใจ ใครที่อยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างสองลักษณะก็อาจจะลองวิเคราะห์จากข้อดีและข้อเสียของทั้งสองหมวด เพื่อดูว่ามีตรงไหนที่เราต้องแก้ไขจริงทางเพียร์ พาวเวอร์สนับสนุนให้ผู้ประกอบการทราบว่าตัวเองเป็นหัวหน้าประเภทไหนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ และถ้าท่านต้องการเงินทุน เรามีบริการแพลตฟอร์ม Crowdfunding ที่ได้รับการรองรับอย่างถูกกฎหมายจาก ก.ล.ต. ผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจอ่านรายละเอียด หรือสมัครเป็นผู้ประกอบการสามารถคลิกได้ด่านล่าง
ข้อมูล: Forbes, LeadershipIQ