เส้นทางระดมทุนคราวด์ฟันดิงกับ Openbox Architects
Openbox Architects คือบริษัทสถาปนิกชั้นนำของไทย ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการก่อสร้างอาคารดีไซน์สวยงามโดดเด่น การันตีความสามารถด้วยหลายรางวัลชั้นนำจากเวทีสถาปัตยกรรมชื่อดังทั้งในไทยและต่างประเทศ บริษัทระดมทุนคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower สำเร็จถึง 20 ล้านบาท และมีแผนที่จะขยายธุรกิจต่อไปด้วยเงินและกำลังใจที่ได้จากนักลงทุน
บทความนี้เราจะคุยกับ คุณหนุ่ย - รติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ CEO และ Co-Founder ของ Openbox Architects และ Time and Space Asset กับความสำเร็จ ก้าวต่อไปของบริษัท และประสบการณ์การทำคราวด์ฟันดิงครั้งแรกกับแพลตฟอร์มของ PeerPower
- ระดมทุนสำเร็จกว่า 20 ล้านบาท
- มีผลงานออกแบบที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน โรงแรม ฯลฯ ในไทยและต่างประเทศรวมทั้งสิ้นกว่า 100 + โครงการ
- ได้รับรางวัลจากเวทีระดับนานาชาติ อาทิ German Design Awards จากเยอรมนี และ Credawards 2021 จากประเทศจีน ฯลฯ
“คุณหนุ่ย” รติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ เบื้องหลังของ Openbox Architects
เมื่อพูดถึงกรุงเทพคุณจะนึกถึงอะไร? ภาพแรกที่เห็นในใจอาจจะเป็นเมืองท่องเที่ยวเต็มไปด้วยวัดวาอาราม แต่ในสายตาของ คุณ หนุ่ย-รติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ ผู้บริหารและสถาปนิกของบริษัท Openbox Architects กรุงเทพคือเมืองที่เต็มไปด้วยโอกาส เหมือนหน้ากระดาษว่าง ๆ ที่รองานดีไซน์เข้าไปแต่งเติม
การได้ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศและความประทับใจต่ออาคารต่างแดนในวัยเด็กบ่มเพาะเป็นความหลงใหล ทำให้ในเวลาต่อมาคุณหนุ่ยจึงเรียนต่อด้านสถาปัตยกรรมเพื่อต่อยอดความฝันในการเป็นสถาปนิกเต็มตัว
“ผมก่อตั้งบริษัทนี้กับคุณปราง สุวรรณไตรย์ ภรรยาของผมเอง ผมเป็นสถาปนิก คุณปรางเป็นภูมิสถาปนิก เราก่อตั้งบริษัท Openbox Architects ในคอนเซปต์ A Marriage of Architecture and Landscape”
เพราะ “พื้นที่” และ “อาคาร” ต้องออกแบบคู่กัน หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทำงานในต่างแดนมาหลายปี ในปี 2002 คุณหนุ่ยและคุณปรางจึงตัดสินใจเปิดบริษัท Openbox Architects ขึ้น บริษัทมีจุดแข็งในการออกแบบสถาปัตกรรมอาคารควบคู่ไปกับภูมิทัศน์โดยรอบ ผลงานออกแบบของบริษัทจึงโดดเด่นทั้งฟังก์ชันและความสวยงามจนคว้ารางวัลมากมายจากในไทยและต่างประเทศ เช่น German Design Award 2018 หรือล่าสุดรางวัล Asia Pacific Property Awards 2022-2023
จากบริษัทรับออกแบบสถาปัตกรรม ปัจจุบันบริษัทได้ขยับขยายธุรกิจกลายเป็น Openbox Group ให้บริการทางสถาปัตยกรรมครอบคลุมครบวงจร สามารถแบ่งออกได้เป็น
- ออกแบบสถาปัตยกรรม (Architecture)
- ภูมิสถาปัตย์ (Landscape Design)
- ออกแบบภายใน (Interior Design)
- ควบคุมการก่อสร้าง (Project Management)
- งานวิศวกรรม (Engineering)
และที่ขยายไปล่าสุดก็คือ Time and Space Asset โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใหม่ของบริษัท
Time and Space Asset ความท้าทายใหม่ของ Openbox Architects
หลังจากคร่ำหวอดอยู่ในวงการมานานและคุยกับลูกค้ามามาก บริษัทจึงเห็นช่องว่างของตลาด อสังหาริมทรัพย์ในไทยว่าไม่มี “ที่อยู่อาศัย” ที่ตอบโจทย์ลูกค้าบางกลุ่ม
หากมองภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทยจะเห็นว่า โครงการที่อยู่อาศัยอาจแบ่งคร่าว ๆ ได้เป็นบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมแบบสร้างสำเร็จ ลูกค้าไม่สามารถเลือกหรือปรับแต่งบ้านได้อย่างที่ต้องการ ถ้าอยากได้บ้านแบบที่ต้องการจริง ๆ ก็ต้องหาที่ดิน จ้างสถาปนิกออกแบบ ซึ่งกว่าจะลงตัวก็อาจกินเวลานานเป็นปี
“ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าการออกแบบหลังนึงใช้เวลานานมาก อาจนานเป็นปี ๆ ซึ่งเขาไม่มีเวลามากขนาดนั้น เราเลยมาตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมเราถึงไม่มีบ้านที่ออกแบบ customise สำหรับลูกค้ากลุ่มที่ไม่อยากซื้อบ้านโครงการ แต่อยากได้อะไรที่ปรับแต่งได้ตามไลฟ์ไตล์ของเขาได้อย่างลงตัว”
ด้วยทักษะด้านสถาปัตกรรมและการออกแบบที่สั่งสมมา บริษัทจึงต่อยอดธุรกิจเป็น Time and Space Asset โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งใจส่งต่อ “คุณภาพชีวิตที่ดี” ให้กับผู้อยู่อาศัย ด้วย “บ้าน” ที่โดดเด่นด้วยดีไซน์แต่สอดคล้องกับทุกไลฟ์สไตล์
บริษัทเปิดตัวโครงการ SOL Residence เป็นโครงการแรก ความพิเศษของโครงการนี้คือมีบ้านเพียงไม่กี่หลัง แต่หลังจะมีความพิเศษเฉพาะตัว และกระจายตัวไปยังย่านต่าง ๆ ในกรุงเทพ ซึ่งราคาเฉลี่ยขอแต่ละหลังอาจอยู่ที่ราว 150 ล้านบาท อาจฟังดูท้าทายในสายตาคนนอกแวดวงอสังหาริมทรัพย์ แต่กับบริษัทที่ปกติรับออกแบบบ้านด้วยงบประมานสร้างหลังละ 200-300 ล้านบาท โมเดลนี้ถือว่าต่ำกว่าราคาทั่วไปที่เคยรับมือ
PeerPower x Openbox Architects เมื่อคราวด์ฟันดิงคือพื้นที่สำหรับเงินทุนและโอกาสของความคิดสร้างสรรค์
“ธนาคารไม่ได้ให้ความรู้สึกว่าเป็นสถาบันที่จะสนับสนุนคนที่จัดตั้งธุรกิจใหม่ แต่มีมาเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กับธุรกิจที่ค่อนข้างอยู่ตัวแล้ว ในขณะที่ PeerPower มีความเป็นแพลตฟอร์มสร้างพื้นที่พบปะกันระหว่างนักลงทุนและผู้ที่ต้องการเงินทุน มันเปิดพื้นที่ให้กับความคิดสร้างสรรค์ได้เยอะขึ้น”
คอนเซปท์ของ Time and Space Asset เป็น “ของใหม่” ที่น่าสนใจในตลาดไทย ผนวกกับประสบการณ์และ insight ของวงการอสังหาริมทรัพย์ที่คลุกคลีมานาน โมเดลธุรกิจแบบนี้น่าจะหาเงินทุนได้ไม่ยาก แต่ความเป็นจริงไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะสถาบันการเงินทั่วไปประเมินว่า “ของใหม่” แบบนี้ไม่น่าเสี่ยงให้ทุน
แต่กลับกัน เมื่อเข้าหาสถาบันการเงินแบบอื่น ๆ “ของใหม่” ก็อาจกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดเงินทุนได้
Openbox Architects ได้ระดมทุนคราวด์ฟันดิงกับ PeerPower เมื่อต้นปี 2022 ที่ผ่านมา โดย PeerPower ได้เปิดพื้นที่ให้บริษัทได้นำเสนอโครงการ โมเดลธุรกิจ และตอบคำถามกับนักลงทุน บริษัทระดมทุนสำเร็จไป 20 ล้านบาท ภายในเวลาเพียง 4 นาที สิ่งนี้แสดงถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อธุรกิจอย่างไม่มีข้อสงสัย
เส้นทางระดมทุนของ Openbox Architects
- ออกหุ้นกู้กับ PeerPower ครั้งแรก ปี 2022
- ระดมทุนสำเร็จถึง 20 ล้านบาท
- ระดมทุนผ่าน Basic Bond
ก้าวต่อไปของ Openbox Architects และ Time and Space Asset
คุณหนุ่ยบอกเราว่า “ไม่ใช่แค่เงินทุนเท่านั้น แต่ที่ได้กลับมาด้วยคือกำลังใจ” ความเชื่อมั่นที่ได้จากนักลงทุนกลายเป็นพลังให้บริษัทเดินหน้าพัฒนาโครงการต่อ
ปัจจุบัน Time and Space Asset ได้เริ่มก่อสร้างโครงการ SOL Residence แล้วใน 3 ทำเลทองของกรุงเทพ คือ สาธร-เย็นอากาศ สุขุมวิท 26 และอารีย์ ด้วยดีไซน์การออกแบบอันเป็นเอก ลักษณ์เฉพาะตัวและความทุ่มเท โครงการจึงสามารถปิดยอดขายได้ตามเป้าอย่างสวยงาม
เคล็ดลับความสำเร็จของ Openbox Architects
ในมุมมองของคุณหนุ่ยความสำเร็จไม่มีสูตรตายตัว แต่คุณหนุ่ยได้แบ่งปันมุมมองไว้ 2 เรื่อง คือ
เคล็ดลับที่ 1 มีความสุขกับสิ่งทำ
เป็นธรรมดาที่จะเหนื่อยกับงานที่ทำ แต่อย่างน้อยที่สุดระหว่างทำงานควรรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ทำ ไม่เช่นนั้นงานจะออกไม่มีคุณภาพเลย
เคล็ดลับที่ 2 หา partner เพื่อเสริมจุดอ่อนของตัวเอง
ไม่มีใครเก่งทุกอย่างและทำได้ทุกเรื่อง การรู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนอะไรและหาพาร์ทเนอร์มาช่วยส่งเสริมจุดอ่อนนั้น จะทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
PeerPower ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ Openbox Architectsและเราพร้อมสนับสนุนธุรกิจให้ก้าวไปได้ไกลขึ้นด้วยการช่วยสนับสนุนธุรกิจที่มีศักยภาพให้เข้าถึงแหล่งทุนจากนักลงทุนนับพันบนแพลตฟอร์มของ PeerPower