"ลดต้นทุน" ยังไงให้กำไรเพิ่มขึ้น?
ส่วนใหญ่พอพูดถึงการลดต้นทุน หลายเทคนิคจะพูดถึงการตัดค่าใช้จ่ายยิบย่อยออกจากบัญชีแบบ cost saving ซึ่งได้ผลจริง แต่อาจจะไม่เป็นประโยชน์กับธุรกิจในระยะยาวโดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการสร้างความเติบโต
ดังนั้นวันนี้บทความ Success Strategy เราจะมาคุยกันเรื่องเทคนิคการลดต้นทุนที่หลายคนไม่พูดถึง เป็นการลดต้นทุนที่โฟกัสการบริหารกระแสเงินสด และเป็นวิธีที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับหลายธุรกิจ โดยเฉพาะ ธุรกิจประเภทผู้ผลิต (Manufacturer) และ ผู้จัดจำหน่าย (Distributor) จะมีวิธีอะไรบ้างอ่านต่อได้จากด้านล่าง
ความจริงที่คนไม่รู้เกี่ยวกับการลดต้นทุน
คีย์สำคัญของเทคนิคนี้ คือการรักษากระแสเงินสดและต่อยอดเงินทุนหมุนเวียน
ธุรกิจแต่ละประเภทจะมีกระแสเงินสดต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าธุรกิจนั้น ๆ มีรายรับ-รายจ่ายผูกอยู่กับอะไรบ้าง ขอยกตัวอย่าง เช่น
- ธุรกิจผู้จัดจำหน่าย (Distributor) รายจ่ายหรือทุนมักจะจมอยู่กับสต็อกสินค้า ค่าดำเนินการร้านค้า (กรณี modern trade) ค่าเช่าโกดัง ค่าจัดส่งสินค้า ฯลฯ
- ธุรกิจผู้ผลิต (Manufacturer) รายจ่ายมักจะจมอยู่กับวัตถุดิบ ค่าเครื่องจักร ค่าอุปกรณ์ ค่าแรงงาน ฯลฯ
ธุรกิจที่มีรายรับและรายจ่ายสมดุล คือธุรกิจที่มีสภาพคล่องดี มีกำลังจ่าย สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น
แต่ปัญหาจะมาอยู่ที่ “สภาพคล่องอาจจะไม่ได้ดีอย่างที่คิด” เพราะธุรกิจบางประเภทมักซื้อขายกันเป็นเงินเชื่อ กว่าลูกค้าจะจ่ายเงินก็นานแสนนาน ดังนั้นหลายธุรกิจจึงต้อง “ควักกระเป๋าตัวเอง” เป็นทุนหมุนเวียนจ่ายค่าล่วงหน้าไปก่อน
ไม่ใช่ว่าการควักกระเป๋าตัวเองไม่ดี แต่หลายครั้งสิ่งนี้ทำให้เจ้าของกิจการหมดโอกาสเอาเงินไปพัฒนาส่วนอื่น ๆ ที่สำคัญต่อธุรกิจจริง ๆ
เช่น แทนที่จะได้เอาเงินส่วนนี้ไปซื้อของมาทำกำไรเพิ่มกลับกลายเป็นว่าต้องเอามาใช้สำรองจ่ายเงินแทนลูกค้า หรือบางทีได้ดีลธุรกิจกับลูกค้าใหม่ ๆ ก็จำเป็นต้องรอเพราะยังขาดเงินจะไปตุนสต็อกให้เขา
การที่ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอจะทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องดี โอกาสในการปิดดีลทำกำไรก็ย่อมมากกว่า โดยปกติแล้ววิธีทำให้เงินทุนหมุนเวียนเพียงพอจะแบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ
- ลดค่าใช้จ่ายออกจากบัญชี ซึ่งเป็นคำแนะนำแรก ๆ ที่หลายคนจะได้รับ
- เติมเงินเข้ามาหมุน ซึ่งเป็นวิธีที่บริษัทใหญ่นิยมทำ เราจะเล่าต่อในหัวข้อถัดไป
กู้เงินแล้วลดต้นทุนได้อย่างไร?
ธุรกิจที่โตแบบก้าวกระโดดส่วนมากมักมีสภาพคล่องดี และแน่นอนว่าสภาพคล่องนี้ไม่ได้เกิดเพราะควักกระเป๋าตัวเอง
สาเหตุที่ธุรกิจเหล่านี้มีสภาพคล่องดี ก็เพราะส่วนมากมักใช้เงินทุนจากแหล่งอื่น ๆ มาบริหาร (ไม่ได้ใช้แค่เงินธนาคารเท่านั้น)
กรณีอย่างบริษัทมหาชนเงินทุนหมุนเวียนมักมาจากนักลงทุน บริษัทขนาดรองลงมาก็มักมีเงินจาก venture capital หรือนักลงทุน angel investor มาหมุนเวียน แม้กระทั่งสตาร์ทอัพก็มักระดมทุนคราวด์ฟันดิงจากนักลงทุนรายย่อยเสมอ (อ่านเกี่ยวกับการระดมทุนคราวด์ฟันดิงที่นี่ คลิก)
ดังนั้นนอกจากการกู้เงินธนาคารแล้ว ผู้ประกอบการสามารถพิจารณาแหล่งหาเงินทุนอื่น ๆ มาใช้ควบคู่ได้ตราบเท่าที่ดอกเบี้ย และเงื่อนไขการชำระสอดคล้องกับกระแสเงินสดของบริษัท เช่น ถ้าเงินเข้าทุก 3 เดือนแต่ต้องจ่ายเงินคืนทุกเดือน อันนี้ก็อาจจะไม่ไหว
การเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนมีประโยชน์กับธุรกิจหลายข้อ อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้เรามีโอกาสแข่งขันก่อนคนอื่น ส่วนอีกข้อคือทำให้เราลดต้นทุนโดยทำกำไรได้มากขึ้นด้วยเทคนิคข้างล่าง
ลดต้นทุนโดยการซื้อของมากขึ้นได้อย่างไร?
วิธีนี้ได้ผลกับทั้งธุรกิจผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย
กรณีของธุรกิจผู้ผลิตที่มีซัพพลายเออร์เจ้าประจำวิธีนี้จะเหมือนกับการซื้อของเหมาโหล
Bulk Purchase คือ การซื้อของล็อตใหญ่ทีเดียวเยอะ ๆ เพื่อนำไปผลิตต่อ สิ่งที่ต้องมีคือทุนที่มากพอจะไปสั่งของล่วงหน้า
ข้อดีคือผู้ประกอบการจะได้วัตถุดิบมากขึ้นเพื่อผลิตมากขึ้น สัดส่วนกำไรก็แนวโน้มที่จะเพิ่มตาม แต่ข้อควรระวังคือ ต้องรู้ให้แน่ว่าจะมีความต้องการในการซื้อสินค้าเพิ่มเช่นกัน เพราะหากซื้อของไปแต่ผลิต-ขายได้เท่าเดิมวิธีนี้จะทำให้ขาดทุนทันที ดังนั้นหากเดือนไหนสามารถคาดการณ์ได้ว่าออเดอร์สินค้าจะเพิ่มขึ้น ก็สามารถใช้วิธีนี้ไปต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้
กรณีของผู้จัดจำหน่ายเช่นกัน วิธีนี้จะเหมือนกับการตุนสต็อกเพื่อส่งลูกค้ามากกว่า 1 เจ้า หากปกติมีลูกค้าเจ้าเดียวเป็นตลาดหลัก การเพิ่มทุนหมุนเวียนเพื่อตุนสต็อกล่วงหน้าจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดไปยังร้านค้าปลีกอื่น ๆ ได้ กำไรก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นพร้อมตลาดที่กว้างขึ้น ข้อควรระวังคือควรมีลูกค้าอยู่ในมือ ไม่อย่างนั้นสินค้าจะค้างสต็อกและเสียค่าเช่าฟรี ๆ
ลดต้นทุนโดยการจ่ายเร็วขึ้นได้อย่างไร?
ซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่มักซื้อขายกันด้วยเงินเชื่อและเครดิตเทอม ต้องรอนานกว่าลูกค้าจะจ่ายเงิน ดังนั้นเพื่อให้ไม่เสียเปรียบหลายเจ้าเลยชาร์จราคาเพิ่มตามระยะเวลาที่จ่ายช้า
กรณีนี้เราสามารถขอต่อรองจ่ายเร็วขึ้นเพื่อแลกกับส่วนลด เช่น หากปกติเครดิตเทอมคือ 3 เดือน อาจขอต่อรองจ่ายเร็วขึ้น 1 เดือนแลกกลับส่วนลด 5% ซึ่งหากคิดเป็นปีก็สามารถประหยัดต้นทุนไปได้ 60% ส่วนต่างที่เหลืออาจพิจารณาเป็นกำไรได้เช่นกัน
สรุป
วิธีลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไรทำได้โดยการเพิ่มทุนหมุนเวียนเพื่อมาบริหารกระแสเงินสด แล้วใช้กระแสเงินสดนั้นเพิ่มความสามารถและโอกาสทางการค้าโดยตุนสต็อกหรือเจรจาจ่ายเร็วขึ้นเพื่อแลกกับส่วนลด
สองวิธีนี้เป็นตัวอย่างโอกาสที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดเพียงพอ หรือหากต้องการเงิน PeerPower เป็นแพลตฟอร์มช่วยผู้ประกอบการระดมทุนคราวด์ฟันดิง ใครสนใจสามารถอ่านเกณฑ์การสมัครได้ที่นี่ (คลิก)
บล็อกหน้าเราจะคุยเรื่องอะไรกันอีก โปรดรอติดตาม สนใจระดมทุนคราวด์ สมัครได้ที่ลิ้งด้านล่าง