กลยุทธ์การตลาดแบบ Sales Funnel คือ กลุยทธ์ที่จะเปลี่ยนให้ลูกค้าที่ไม่เคยรู้จักสินค้าของผู้ประกอบการ หันมาสนใจและกลายเป็นลูกค้าในที่สุด
- Sales Funnel คือ กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะกับกิจการที่มีความเฉพาะตัว
- หัวใจสำคัญ คือ สร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคก่อน จากนั้นค่อยสร้างความน่าสนใจของสินค้า
- ลูกค้า 5 แบบ ในกลยุทธ์นี้ ได้แก่ ลูกค้าที่ไม่รู้จักสินค้าเราเลย ลูกค้าที่รู้จักสินค้าแล้ว ลูกค้าที่สนใจสินค้าแต่ยังไม่ซื้อ ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปแล้ว และลูกค้าที่กลับมาซื้อสินค้าซ้ำจนนำสินค้าไปบอกต่อคนรอบตัว
- การเปลี่ยนลูกค้าที่ไม่รู้จักสินค้าให้มาซื้อสินค้า มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นแรก ทำคอนเทนต์เพื่อให้ข้อมูลในสิ่งที่ลูกค้าสงสัย ขั้นที่สอง กระตุ้นให้ลูกค้าสนใจสินค้ามากขึ้นผ่านโปรโมชั่นต่างๆ ขั้นที่สาม สร้างสัมพันธ์ที่ดีและปรับเปลี่ยนบริการให้เหมาะสมกับลูกค้า ขั้นที่สี่ ดูแลบริการลูกค้าหลังการขาย
กลยุทธ์การตลาดแบบ “Sales Funnel” ช่วยเพิ่มยอดขายให้ SME
กลยุทธ์การตลาดแบบ Sales Funnel คือ หนึ่งในกลุยทธ์การตลาดออนไลน์ ที่จะเปลี่ยนให้ลูกค้าที่ไม่เคยรู้จักสินค้าของผู้ประกอบการ หันมาสนใจและกลายเป็นลูกค้าในที่สุด กลยุทธ์นี้น่าสนใจอย่างมาก เพียร์ พาวเวอร์จึงนำข้อมูลมาฝากกันค่ะ
กลยุทธ์การตลาดแบบ Sales Funnel คืออะไร?
กลยุทธ์การตลาด Sales Funnel เป็นอีกหนึ่งทฤษฎีที่นักการตลาดทั่วโลกใช้กัน โดยเฉพาะในกลุ่มของนักการตลาดบนโลกออนไลน์ เพราะว่าการตลาดรูปแบบนี้เหมาะกับกิจการที่มีความเฉพาะตัว ต้องให้ข้อมูลหรือนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับกิจการ เมื่อใช้กลยุทธ์นี้จะดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาทำความรู้จักกับธุรกิจได้ง่ายขึ้นกลยุทธ์การตลาด Sales Funnel มีหัวใจสำคัญคือ การทำให้กิจการเป็นที่รู้จักในวงกว้างด้วยการสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคก่อน หลังจากนั้นค่อยสร้างความน่าสนใจของสินค้าจนผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและกลายเป็นลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์ของผู้ประกอบการในที่สุด
กลยุทธ์การตลาด Sales Funnel กับลูกค้าทั้ง 5 แบบ
กลยุทธ์การตลาดแบบ Sales Funnel กับลูกค้า 5 แบบStrangers คือ กลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยรู้จักสินค้าหรือแบรนด์ของผู้ประกอบการมาก่อนVisitors คือ กลุ่มลูกค้าที่เคยรู้จักหรือเคยเห็นแบรนด์สินค้าของผู้ประกอบการมาก่อนแล้วแต่ยังไม่มีความต้องการหรือยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อLeads คือ กลุ่มลูกค้าที่สนใจที่จะเลือกซื้อสินค้าในกิจการของผู้ประกอบการแล้ว แต่ยังไม่เกิดการซื้อCustomers คือ ลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อสินค้าไปแล้วPromoters คือ ลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าไปแล้วและเกิดความชื่นชอบอย่างมาก จนต้องบอกต่อหรือแนะนำให้คนอื่นรู้จักสินค้านั้นๆ
กลยุทธ์การตลาดแบบ Sales Funnel : ขั้นตอนเปลี่ยนลูกค้า Strangers ให้เป็น Promoters
กลยุทธ์การตลาด “เปลี่ยนลูกค้า Strangers ให้เป็น Prompters” คือขั้นตอนที่จะทำให้ลูกค้าที่ไม่เคยรู้จักสินค้าของผู้ประกอบการมาก่อน รู้จักและต้องการซื้อสินค้า จนกระทั่งนำสินค้าไปบอกต่อกับคนรอบตัว ทำให้กิจการของผู้ประกอบการเติบโตได้ในที่สุด ซึ่งกลยุทธ์การตลาดดังกล่าว มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ
Attract
กลยุทธ์การตลาดแบบ Sales funnel ขั้นแรกก็คือ การทำให้สินค้าดูน่าสนใจและดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่ไม่เคยรู้จักสินค้าหรือแบรนด์ของผู้ประกอบการมาก่อน ในขั้นตอนนี้ผู้ประกอบการสามารถทำได้ด้วยการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าก่อน โดยไม่เน้นการขาย เช่นการเขียนคอนเทนต์ หรือให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย โดยข้อมูลหรือคอนเทนต์เหล่านั้นต้องเป็นสิ่งที่กลุ่มลูกค้าสนใจหรือเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการหาคำตอบ เมื่อลูกค้าได้รับข้อมูลที่รู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับตัวเองแล้ว พวกเขารับรู้ได้ถึงความจริงใจของแบรนด์และกล้าเปิดใจให้กับแบรนด์หรือสินค้าของผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น จาก Strangers ก็จะกลายเป็น Visitors ถือเป็นกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ
Convert
กลยุทธ์การตลาดในขั้นตอนนี้ คือ การกระตุ้นให้ลูกค้าสนใจและเลือกที่จะซื้อสินค้าของแบรนด์ผู้ประกอบการมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “Call to Action” ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้ประกอบการให้ลูกค้า Add Line ของแบรนด์เพื่อรับโปรโมชั่นพิเศษหรือให้ลูกค้าเข้าสู่เว็บไซต์เพื่อซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์พร้อมแถมโปรโมชั่น กลยุทธ์การตลาดขั้นนี้จะช่วยให้ลูกค้ารู้จักสินค้าและแสดงความสนใจมากขึ้น เพื่อเปลี่ยน Visitors ให้กลายเป็น Leads เพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการให้มากขึ้น
Close
การดำเนินกลยุทธ์การตลาดในลักษณะนี้มีสองรูปแบบด้วยกัน ได้แก่ CRM และ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการ ทางด้าน CRM หรือ Customer Relationship Management คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเพื่อติดต่อหรือส่งโปรโมชั่นจูงใจการซื้อในช่วงเวลาที่เหมาะสม อาจจะเป็นการส่งผ่านอีเมล์ หรือให้ทีมขายติดต่อลูกค้าไปก็ได้ ส่วนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการ คือ การเปลี่ยนแปลงการบริการเพื่อให้ลูกค้าขั้น Leads มีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าและสามารถเข้าถึงสินค้าหรือบริการได้ง่ายที่สุด
Delight
ขั้นตอนนี้เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้ว และเกิดความคาดหวังการดูแลจากแบรนด์ ซึ่งผู้ประกอบการทำได้ด้วยการใส่ใจบริการหลังการขาย เพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ Re-Purchasing การใส่ใจในบริการหลังการขาย อาจเป็นการทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความเห็นของลูกค้า จากนั้นนำไปพัฒนาและปรับปรุงสินค้ารวมถึงการบริการให้ดียิ่งขึ้น กลยุทธ์การตลาดนี้จะทำให้ลูกค้าประทับใจ จนกระทั่งบอกต่อหรือแนะนำสินค้าไปยังคนใกล้ตัวและอาจจะกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง การบริการหลังการขายและการรักษากลุ่มลูกค้าเดิมก็เป็นกลยุทธ์การตลาดอีกข้อหนึ่งที่หลายกิจการให้ความสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มกิจการขนาดใหญ่ เพราะว่าเป็นกิจการที่มีฐานลูกค้าเก่าค่อนข้างมากหากเสียกลุ่มลูกค้านี้ไปอาจทำให้เกิดความเสียหายกับแบรนด์หรือกิจการได้สำหรับเจ้าของธุรกิจที่คิดจะนำกลยุทธ์การตลาดแบบ Sales Funnel นี้ไปใช้ในกิจการของผู้ประกอบการ ต้องไม่ลืมว่าหัวใจสำคัญของกลยุทธ์การตลาดแบบ Sales Funnel คือการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าอย่างจริงใจ ถึงแม้ว่าวิธีการที่จะได้ลูกค้ามาในแต่ละขั้นนั้นจะดูไม่ง่าย แต่ลูกค้าทั้ง 5 ขั้นตอนในการทำ Sales Funnel นั้นมีโอกาสที่จะสร้างรายได้และกลายเป็นลูกค้าชั้นดีที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ (Loyalty) ให้กับธุรกิจของผู้ประกอบการได้ทั้งหมดการเปลี่ยนแต่ละขั้นของลูกค้าอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน บางขั้นตอนเกิดขึ้นได้เพียงไม่กี่นาที หรือบางขั้นตอนก็ใช้เวลานานกว่าซึ่งแต่ละธุรกิจนั้นก็มีความยากง่ายและมีความซับซ้อนของขั้นตอนที่แตกต่างกันไป จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ต้องเข้าถึงและมัดใจลูกค้าให้ได้ เพื่อความสำเร็จและการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน กลยุทธ์การตลาดแบบนี้ เพียร์ พาวเวอร์ก็กำลังใช้กับท่านที่กำลังอ่านอยู่เช่นกัน และหากท่านผู้อ่านสนใจออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง กับเพียร์ พาวเวอร์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์ด้านล่างค่ะ
___________________________________________________
คำเตือน : การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงผ่านเพียร์ พาวเวอร์ เป็นการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอทั้งด้านความเสี่ยง และความสามารถในการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง ความเสี่ยงในที่นี้หมายถึงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของหลักทรัพย์และความเสี่ยงในการสูญเสียเงินจากการลงทุน การลงทุนในหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะสามารถเริ่มลงทุนได้ต่อก็ต่อเมื่อนักลงทุนทำการลงทะเบียนและผ่านแบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการลงทุนแล้ว